หยาดน้ำค้าง Drosera capiensis ไม้เพาะเนื้อเยื่อ
หยาดน้ำค้าง-drosera-capiensis-ไม้เพาะเนื้อเยื่อ
ข้อมูลสินค้า
ราคา
149.00 บาท
ขายแล้ว
8 ชิ้น
ร้านค้า
หยาดน้ำค้างชนิด Drosera capiensis
หรืออีกชื่อนึงคือ Cape sundew เป็นหยาดน้ำค้างมีขนาดเล็ก มีการแตกกอได้เป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น แต่ช้ากว่าชนิด D. burmannii แผ่กว้างได้ประมาณ 3.5 - 4 เซนติเมตร ลำต้นสั้นมาก แตกใบเป็นพุ่ม ถิ่นการกระจายพันธุ์จะอยู่ที่แอฟริกาใต้มีหยาดน้ำขนาดเล็กสีแดงสดใสเอาไว้ใช้ในการล่อแมลงขนาดเล็ก เมื่อแมลงเข้ามาติดกับ ต้นจอกบ่วายจะค่อย ๆ ม้วนใบเข้ามาพันกับเหยื่อ แล้วทำการย่อยอย่างช้า ๆ กินเวลาเป็นอาทิตย์


ต้นจอกบ่วายที่อยู่ในรูปจะเป็นลักษณะของไม้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มีขนาดเล็กแต่สามารถโตต่อได้จนเต็มขวด และเมื่อเป็นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทุกต้นจึงมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ ส่วนเรื่องของการดูแลมีดังนี้

- ห้ามเปิดฝา
- ห้ามปล่อยให้โดนอากาศแรง ๆ หรืออยู่ในที่สกปรก เพราะจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการปนเปื้อน
- ห้ามโดนแสงแดดโดยตรง เพราะความร้อนจะทำให้ต้นไม้โดนอบและตาย ให้ใช้แสงไป LED ในห้องหรือหลอดไฟ LED แทน
- สามารถนำต้นไม้ออกได้เลยถ้าต้นไม้มีรากแข็งแรงและใบสมบูรณ์ (อ่านตามคู่มือที่แนบไว้)
- สามารถสอบถามเพิ่มเติมการดูแลต้นไม้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือวิธีการเพิ่มจำนวนต้นไม้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เลย

ไม้สภาพปลอดเชื้อไม่มีการปนเปื้อนของแบคทีเรีย เชื้อราและไวรัส ไม้ในขวดจะสามารถเติบโตและแตกใบ ราก และหน่อได้อย่างต่อเนื่อง การจะเอาออกมาจากขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะเอาออกมาก็ต่อเมื่อ
1. ผู้เลี้ยงต้องการนำไม้ออกมาปรับสภาพและปลูกลงกระถางเพื่อให้ไม้แข็งแรง ใหญ่ และสวยงาม
2. ไม้ในขวดเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค เนื่องจากฝาขวดเปิด หรือมีรอยรั่ว การขนส่งไม่ดี อากาศร้อน หรือเชื้อราที่เดิมทีแล้วอาจปนเปื้อนมาตั้งแต่แรกแต่ยังอยู่ในสภาวะพักตัว เกิดการตื่นจากการพักตัวและแบ่งเซลล์อีกครั้ง
3. ไม้ในขวดเติบโตจนเต็มขวด หรืออาหารวุ้นถูกพืชดูดดซึมไปใช้จนหมด

วิธีการเอาออกมาจากขวดมีดังนี้
1. ใช้ตะเกียบหรือไม้เสียบลูกชิ้น ค่อย ๆ เขี่ยอาหารวุ้นให้หลุดออกจากขวด
2. ใช้น้ำเปล่าชำระล้างวุ้นออกจากต้นพืชออกให้หมด มิฉะนั้นวุ้นจะกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
3. นำต้นไม้ที่ล้างแล้วไป่ในยากันเชื้อรา ผู้ขายแนะนำให้ใช้แคปเเทน เพราะหาง่ายและราคาถูก แช่ไว้ประมาณ 30 นาที
4. นำต้นพืชไปแช่ในน้ำยาเร่งรากอีก 30 นาที (ขั้นตอนนี้เป็นการช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็วขึ้น อาจไม่จำเป็นก็ได้)
5. นำพืชไปใส่วัสดุปลูกที่ชุ่มน้ำ เช่น ขุยมะพร้าวสับ + เพอร์ไลท์, สแฟคนั่มมอส + เพอร์ไลท์, พีทมอส + เพอร์ไลท์
6. เสร็จแล้วนำไปอบด้วยการใส่ถุงร้อน แล้วเอาไว้ในที่ร่ม ****ห้ามโดนแสงแดดแรงและร้อนจัด เพราะพืชอยู่ในสภาพเย็นและปลอดเชื้อมาก่อน การเอาไว้ในที่ร้อนจะทำให้ต้นไม้น็อคและตายได้
7. หลังจากผ่านไป 3 - 4 อาทิตย์ ถ้าหากว่าพืชมีการสร้างใบขึ้นมาใหม่แปลว่าพืชเริ่มปรับตัวได้แล้ว ให้ค่อย ๆ เจาะรูถุง อาทิตย์ละ 1 - 2 รู *** ขั้นตอนนี้ต้องใจเย็น อย่ารีบเปิดปากถุงทันทีมิฉะนั้นพืชอาจตายได้
8. ค่อย ๆ ย้ายพืชให้รับแสงทีละนิด ๆ จนกว่าจะมั่นใจพอจึงค่อยปลูกเลี้ยงได้ตามปกติ


#ไม้กินแมลง #พืชกินแมลง #หยาดน้ำค้าง #เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
คำที่เกี่ยวข้อง
ไม้เพาะเนื้อเยื่อไม้ด่างเพาะเนื้อเยื่อเพาะเนื้อเยื่อกล้วยไม้เพาะเนื้อเยื่อขวดเพาะเนื้อเยื่ออาหารเพาะเนื้อเยื่อชุดเพาะเนื้อเยื่ออุปกรณ์เพาะเนื้อเยื่อกล้วยเพาะเนื้อเยื่อต้นเพาะเนื้อเยื่อ

สินค้าใกล้เคียง