พระอานนท์พุทธอนุชา วศิน อินทสระ
พระอานนท์พุทธอนุชา-วศิน-อินทสระ
ข้อมูลสินค้า
ราคา
485.00 บาท
ร้านค้า
พระอานนท์พุทธอนุชา วศิน อินทสระ สำนักพิมพ์ สร้างสรรค์ พิมพ์ครั้งที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ มี ๒๘๓ หน้า
เรื่อง พระอานนท์ พุทธอนุชา ที่สำนักพิมพ์บรรรณาคารพิมพ์จำหน่าย ได้หมดลง สำนักพิมพ์ขออนุญาตพิมพ์ใหม่เป็นครั้งที่ ๗ แต่หนังสือเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์มากในงานศพ เจ้าภาพขออนุญาตไปพิมพ์แจกอยู่เสมอ ทำเป็นเล่มใหญ่ พิมพ์กระดาษอย่างดี สวยงามทั้งรูปเล่มและปก ทั้งนี้เป็นไปตามกำลังศรัทธา ทรัพย์ และสติปัญญาของผู้จัดทำ มากครั้งจนข้าพเจ้าจำไม่ได้
เมื่อเร็วๆ นี้ มีผุ้รู้จักคุ้นเคยนำเอกสารจากต่างประเทศมาให้ดู เป็น Encyclopedia of World Literature in 20th Century คือ สารานุกรมวรรณคดีหรือวรรณกรรมของโลกในศตวรรษที่ ๒๐
ในสารานุกรมนั้นมีข้อความกล่าวถึงนักเขียนไทยหลายคน พร้อมทั้งชื่อหนังสือเด่นๆ ที่ท่านเหล่านั้นเขียน แต่หนังสือทางศาสนา มีกล่าวถึงเฉพาะเรื่องพระอานนท์ พุทธอนุชา เพียงเล่มเดียว ขอนำข้อความเฉพาะที่เกี่ยวกับหนังสือพระอานนท์มาลงไว้ด้วยดังนี้
The spiritual confusion arising from rapid social change and disintegrating morality finds expression in the work of Buddhist scholars, such as Wasin Inthasara’s (b.1934) Phar-A-non Buttha anucha (1965 ; Phar-A-non, the brother of the Lord Buddha), in which he discusses aspects of Buddhism applicable to modern life, in a language that can be grasped by laymen (p.430)
ส่วนข้อความที่แปลเป็นไทยนั้น วารสารกัลยาณมิตรฉบับเดือนตุลาคม ๒๕๓๓ ได้นำลงแล้ว ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำอีก ข้าพเจ้าได้นำมาลงไว้ ณ ที่นี้ด้วยแล้ว
เรื่องทั้งปวงที่บอกเล่ามานี้ มิใช่เพื่ออวดตน เพราะไม่จำเป็นต้องอวด แต่เขียนบอกเล่าเพื่อชี้ให้เห็นจุดสำคัญจุดหนึ่งในวงการศาสนาของเราว่าการเผยแผ่ศาสนาโดยวิธีเล่าเรื่องและแทรกธรรมะอันประชาชนจะนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันนั้น ยังเป็นที่ต้องการของพหูชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ยังเยาว์ต่อความรู้ทางศาสนา เหมือนเด็กหรือคนป่วยที่ยังต้องรับอาหารอ่อนและปรุงรสบ้างตามพอสมควร
ถ้าวงการศาสนาของเราตระหนักในเรื่องนี้และช่วยกันผลิตนักเผยแผ่ศาสนาโดยวิธีนี้ให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และรับช่วงกันไป งานด้านนี้ก็จะได้ดำเนินไปโดยไม่ขาดสาย ย่อมจะอำนวยประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก ซึ่งเป็นพุทธบริษัทผู้ยังเยาว์ต่อความรู้ทางศาสนา พออาศัยไปก่อนจนกว่าอินทรีย์จะแก่กล้า
สำหรับท่านที่สนใจในธรรมะระดับสูงๆ นั้น ไม่ต้องห่วงท่านอยู่แล้ว ท่านย่อมไปได้เอง นอกจากจะไปหลงเสียกลางทาง กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิไปเพราะไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรมในระดับต้นๆ
เรื่อง พระอานนท์ฯ มีปรัชญาชีวิตอยู่มาก ปรัชญาชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต มันเป็นพวงมาลัยของชีวิตเหมือนพวงมาลัยรถและเรือซึ่งนำเรือหรือรถให้หันเหไปในทิศทางที่ผู้ขับขี่ประสงค์ คนเรามีหลักการสำหรับชีวิตอย่างไร เขาย่อมดำเนินชีวิตอย่างนั้น
ด้วยเหตุนี้ หลังจากเรื่องพระอานนท์ พุทธอนุชา ได้ออกสู่สายตาของมหาชนแล้วตลอดเวลาประมาณ ๒๕ ปีมานี้ ข้าพเจ้าได้ฟังอยู่เสมอจากผู้อ่านเรื่องพระอานนท์ว่าทัศนคติเกี่ยวกับชีวิตของเขาเปลี่ยนไป หมายถึงเปลี่ยนไปในทางที่ดี บางท่านเปลี่ยนไปมากๆ และบอกว่าเกิดกำลังใจในการทำคุณงามความดีถึงขนาดมอบกายถวายชีวิตให้กับพระศาสนาเลยทีเดียว
ข้าพเจ้าทำงานด้วยความหวัง...หวังให้พี่น้องชาวไทยของเราเข้าใจพุทธศาสนาในทางที่ถูกที่ตรง และได้รับประโยชน์จากพระพุทธศาสนาเท่าที่ประโยชน์นั้นมีอยู่ สมกับที่ได้เสียสละอุปถัมภ์บำรุง การจะเป็นเช่นนี้ได้ พุทธบริษัทจะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไรและไม่ทรงสอนอะไร หรือว่าทรงสอนให้ทำอย่างไร ไม่ควรทำอย่างไร
ถ้าเราผู้ป็นพุทธบริษัทรู้จักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างถ่องแท้แล้ว ชวนกันดำเนินตาม ปฏิบัติตามให้สมควรแก่ฐานะของตนๆ แล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่าสังคมไทยของเราจะดีขึ้นกว่านี้สัก ๑๐๐ เท่า จะเป็นสังคมของอารยชนอย่างแท้จริง สมตามพระพุทธประสงค์ที่ทรงเสียสละเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์อันใด เราจะได้บรรลุถึงประโยชน์อันนั้น
เราจะไม่ต้องเสียใจในภายหลังว่า นับถือศาสนาซึ่งเต็มไปด้วยประโยชน์นำออกจากทุกข์ได้จริง แต่เรามิได้รับประโยชน์อะไรและยังจมอยู่ในกองทุกข์ ว่ายวนอยู่ในทะเลเพลิง กล่าวคือความกลัดกลุ้มรุ่มร้อนอย่างหาทางออกไม่ได้
ศาสนาพุทธนั้น เน้นการช่วยเหลือตนเอง ต้องลงมือทำด้วยตนเอง จะมัวกราบๆ ไหว้ๆ โดยไม่ขวนขวายทำอะไรเพื่อออกจากทุกข์นั้นไม่ได้ เมื่อเราต้องการไปฝั่งโน้น ก็ต้องขวนขวายหาเรือหรือแพ หรือมิฉะนั้นก็ต้องว่ายน้ำข้ามไป จะนั่งกราบไหว้เพื่อให้ฝั่งโน้นเลื่อนมาหาตนหาสำเร็จไม่ เราต้องบากบั่น พากเพียรด้วยกำลังทั้งหมด และต้องเป็นความเพียรชอบอันถูกทางด้วย เพื่อข้ามไปสู่ฝั่งโน้นคือพระนิพพานอันเป็นการออกจากสังสารวัฏ ซึ่งหมายถึงการออกจากทุกข์ทั้งปวงด้วย
โลกของเรานี้ ไม่ว่าจะมองไปที่ใด มันแสนจะน่าเบื่อหน่าย มีแต่เรื่องทุกข์ร้อน มีแต่ปัญหาความขัดแย้ง อะไรที่ยังไม่ได้ คนก็ยื้อแย่งแข่งขันกันเพื่อจะได้ พอได้มาจริงๆ ก็ไม่เห็นจะวิเศษวิโสอะไร มันเท่านั้นเอง พ่วงเอาความทุกข์ ความกังวล ความเหน็ดเหนื่อยกับมันอีกเป็นอันมาก ด้วยระยะเวลาอันยาวนาน
ด้วยเหตุนี้พระศาสดาของเราจึงให้พิจารณาเนืองๆ ถึงความไม่น่ายินดี ไม่น่าปรารถนาในโลกทั้งปวง (สัพพโลเก อนภิรตสัญญา) และในสังขารทั้งปวง (สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา) ทั้งนี้ เพื่อให้จิตใจหลุดลอยขึ้นไปจากความยึดถือทั้งหลาย เพื่อความสุขสวัสดีที่แท้จริง
คราวหนึ่ง มีผู้มาทูลถามพระพุทธองค์ว่า
“จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจนี้หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ ทั้งในกิจที่ยังไม่เกิด และในกิจที่เกิดขึ้นแล้ว ถ้าความไม่ต้องสะดุ้งมีอยู่ ขอพระองค์จงตรัสบอกสิ่งนั้นเถิด”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
“เว้นปัญญา ความเพียร การสำรวมอินทรีย์ และความปล่อยวางโดยประการทั้งปวงแล้ว เรา (ตถาคต) มองไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลายเลย”
ความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีได้เพราะอาศัยปัญญา ความเพียร การสำรวมระวังอินทรีย์ (คือ ตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ) และการบอกคืนสิ่งทั้งปวงที่เคยยึดถือไว้ด้วย
คำที่เกี่ยวข้อง
วศิน อินทสระหนังสือพระอานนท์วศินพระพุทธรูป พระพุทธรูปอานนท์พระพุทธรูปพระพุทธชินราชกรอบ พระพุทธพระพุทธเมตตาเหรียญพระพุทธ

สินค้าใกล้เคียง