สัญญาประชาคมหลักแห่งสิทธิทางการเมือง เขียนโดย ฌอง ฌากส์ รูสโซ พลเมืองแห่งเจนีวา แปลโดย วิภาดา กิตติโกวิท (ราคาปก 240.-)
ข้อมูลสินค้า
ราคา
240.00 บาท
ขายแล้ว
17 ชิ้น
แบรนด์
สำนักพิมพ์ทับหนังสือ
ร้านค้า
***หนังสือมือสองมีตำหนิ***
สัญญาประชาคมหลักแห่งสิทธิทางการเมือง
เขียนโดย ฌอง ฌากส์ รูสโซ
พลเมืองแห่งเจนีวา
แปลโดย วิภาดา กิตติโกวิท
(ราคาปก 240.-)
บ้างเรียกว่าเขาเป็นนักคิดผู้สับสนย้อนแย้ง บ้างกล่าวว่าเขาคือธารน้ำสายหลักของยุคเรืองปัญญา (Enlightenment Period) และบ้างเปรียบเปรยว่าหนังสือของเขาคือ คัมภีร์ไบเบิลแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศส ปี 1789
ถ้าหากนึกถึงหนึ่งในหนังสือที่มีพลังเพียงพอจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับยุคสมัย ชื่อของ ฌอง-ฌากส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) และหนังสือ สัญญาประชาคม (Du Contrat Social) น่าจะเป็นชื่อหนึ่งที่หลายคนยอมรับ
กล่าวในภาพรวม หนังสือ สัญญาประชาคม ของรุสโซทำให้ประชาชนฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และหันมาตระหนักถึงอำนาจในฐานะประชาชนคนหนึ่ง และแม้ว่า สัญญาประชาคม จะไม่ใช่หนังสือเพียงเล่มเดียวที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศส ปี 1789 แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลักการ ‘เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ’ กับแนวคิดใน สัญญาประชาคม มีความเกี่ยวโยงกัน อย่างน้อยก็ในฐานะสายธารความคิดหนึ่ง
ฌอง-ฌากส์ รุสโซ
พลเมืองแห่งเจนีวา
ฌอง-ฌากส์ รุสโซ เกิดและเติบโตในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อปี 1712 แม่ของเขาเสียชีวิตไม่กี่วันหลังเขาเกิด และเมื่อรุสโซอายุได้ 10 ขวบ พ่อของเขาก็มีเรื่องชกต่อยกับนายทหาร จนเป็นเหตุให้ต้องหนีออกจากเจนีวา ทำให้เขาต้องย้ายไปพักอาศัยกับลุงและป้าตั้งแต่นั้น
เมื่ออายุได้ 16 ปี รุสโซเริ่มออกเดินทางรอนแรมไปทั่วยุโรป ตั้งแต่อิตาลี ฝรั่งเศส กลับมาสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง และก็ไปอังกฤษ เขาใช้เวลาเรียนรู้ผ่านการอ่านหนังสือด้วยตัวเอง ยังชีพด้วยการรับจ้างเป็นเสมียน ครูสอนหนังสือ และเล่นดนตรี
รุสโซนับว่าหล่อเหลาและมีเสน่ห์ เขาคบหากับผู้หญิงหลายคนตลอดช่วงชีวิต รวมถึงได้รับความสนใจจากเพื่อนนักคิดหลายคนในยุคเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น เดวิด ฮูม (David Hume) นักปรัชญาชาวสกอตแลนด์ หรือ เดอนีส์ ดิเดอโรต์ (Denis Diderot) และกลุ่มเพื่อนนักปรัชญาที่ร่วมกันจัดทำ Encyclopédie สารานุกรมอันทรงอิทธิพลในยุคเรืองปัญญา
ในปี 1762 หนังสือสองเล่มที่สำคัญที่สุดของเขาก็ได้รับการตีพิมพ์ ได้แก่ สัญญาประชาคม และ เอมีล หรือว่าด้วยการศึกษา (Émile ou De l’éducation) ซึ่งเสนอว่าธรรมชาติเป็นครูที่ดีที่สุด อีกทั้งเด็กควรเรียนรู้และเติบโตขึ้นด้วยประสบการณ์ มากกว่าถูกระบบการศึกษากล่อมเกลาให้โตเป็นผู้ใหญ่แบบเดียวกันหมด และเด็กควรได้รับการศึกษาที่เหมาะสมกับวัย เช่น เด็กอายุ 7 ขวบควรออกไปวิ่งเล่นกลางแสงแดด มากกว่าเรียนภาษาละติน หรืออ่านปกรณัมโบราณเนื้อหาเข้มข้น
จึงอาจพูดได้ว่าแนวคิดทางการศึกษาใน เอมีล หรือว่าด้วยการศึกษา ก็มีความคล้ายคลึงกับระบบการศึกษาในปัจจุบัน ที่มองเด็กเป็นศูนย์กลาง มากกว่าครูผู้สอนอยู่เหมือนกัน
และแม้หนังสือทั้งสองเล่มจะเตะตาสาธารณชนเป็นวงกว้าง แต่อีกด้านหนึ่ง มันกลับไม่เข้าตาผู้มีอำนาจในเวลานั้นเสียเท่าไร
ภายหลังจากหนังสือทั้งสองเล่มได้รับการตีพิมพ์ รุสโซถูกประณามจากทางการปารีสและเจนีวา รวมถึงถูกออกหมายจับข้อหาหมิ่นศาสนาและถูกตราหน้าว่าเป็นคนที่ไม่เชื่อในพระเจ้า เพราะข้อความหนึ่งในหนังสือ สัญญาประชาคม ที่ว่า
“…หัวใจสำคัญของศาสนาคริสต์ที่แท้จริงคือการสอนให้มนุษย์ทุกคนเป็นพี่น้องกันภายใต้พระผู้สร้างองค์เดียวกัน แต่ศาสนาคริสต์ทุกวันนี้กลับสอนถึงแต่เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ความยิ่งใหญ่ของศาสนา…”
หลังจากนั้น ทางการเจนีวาได้ประกาศเผาหนังสือทั้งสองเล่มของเขาทิ้งทั้งหมด และยังยกเลิกความเป็นพลเมืองของรุสโซ ทำให้เขาต้องจำใจออกเดินทางอีกครั้ง
ชีวิตในบั้นปลายของรุสโซน่าอดสู เขาอาศัยอยู่ในกระท่อมหลังน้อยชานเมืองปารีส เพื่อหลบซ่อนจากทางการ หาเลี้ยงปากท้องด้วยการคัดโน้ตเพลงขาย ก่อนเสียชีวิตในปี 1778
สละเสรีภาพสูงสุด เพื่อยึดมั่นในเจตจำนงร่วม
สำหรับรุสโซ ในสภาวะธรรมชาติ มนุษย์เกิดมาพร้อมพรจากพระผู้เป็นเจ้าคือ ‘เสรีภาพ’
กล่าวคือ ก่อนที่มนุษย์จะรวมตัวกันเป็นสังคม มนุษย์เป็นอิสระเสรีจากทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีระบบสังคม ไม่มีสถาบันครอบครัว ไม่มีความรัก และธรรมชาติของมนุษย์ตามวิถีแบบนั้นคือ เป็นคนดี ไม่โลภ และรักสงบ แต่ต่อมา ชีวิตมีความท้าทายมากขึ้น มนุษย์ไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้โดยลำพัง พวกเขาจึงสละอำนาจส่วนตน เพื่อมาอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม ก่อนพัฒนาเป็นรัฐในเวลาต่อมา
นำไปสู่คำถามถัดไปว่า จะรับประกันได้อย่างไร ว่ารัฐจะทำให้ทุกคนได้ประโยชน์โดยเท่ากัน?
รุสโซกล่าวถึงปัญหานี้ว่า ถ้าทุกคนไม่หวงแหนหรือยกอำนาจให้ใครเป็นพิเศษ แต่เลือกมอบให้แก่ส่วนรวม จะนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า ‘เจตจำนงร่วม’ ซึ่งจะเป็นเข็มทิศนำสังคมไปสู่ทิศทางที่ทุกคนได้ประโยชน์อย่างแท้จริงและเท่าเทียม เป็นสัญญาประชาคมอันสมบูรณ์ในความคิดของเขา
ดังที่เขากล่าวว่า “เราแต่ละคนนำตัวเองและพลังทั้งหมดของตน มารวมกันไว้ภายใต้ทิศทางสูงสุดแห่งเจตจำนงร่วมกัน และในฐานะที่เป็นองค์คณะ เราต้อนรับสมาชิกแต่ละคนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งอันแบ่งแยกไม่ได้ของส่วนทั้งหมด”
กฎหมายต้องถูกรับรองด้วยเจตจำนงร่วม
ในสภาวะธรรมชาติ ความยุติธรรมเป็นของพระผู้เป็นเจ้า แต่ในระบบสังคมย่อมต่างออกไป จึงต้องมีกฎหมายที่เป็นธรรมและเป็นกลาง เพื่อสร้างความยุติธรรมในสังคม
แต่คำถามตามมาย่อมไม่พ้นว่า แล้วกฎหมายจะเป็นธรรมได้อย่างไร?
รุสโซมองว่ากฏหมายที่เป็นธรรมในสังคมหนึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับการยินยอมจากเจตนำนงร่วมเท่านั้น
เขาไม่ได้หมายความว่า ทุกคนในสังคมต้องมาจับเข่าคุยและร่วมกันเขียนกฎหมาย ตรงกันข้าม เพราะรุสโซมองว่า ผู้ที่จะร่างกฎหมายควรเป็นอัจฉริยะ หรือผู้เที่ยงธรรมอันเหนือกว่าเสียด้วยซ้ำ เหมือนที่เขากล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
“ภายในรัฐ ผู้บัญญัติกฎหมายต้องเป็นคนไม่ธรรมดาในทุกด้าน ถ้าเขาเป็นเช่นนี้ด้วยความเป็นอัจฉริยะ