เตาเผากำยาน/ที่จุดกำยาน/โถจุดกำยาน/กระถางธูป8ขุมทรัพย์แห่งทิเบต(มีสินค้าในไทยพร้อมส่ง)kuedee​ shopping
เตาเผากำยาน-ที่จุดกำยาน-โถจุดกำยาน-กระถางธูป8ขุมทรัพย์แห่งทิเบต-มีสินค้าในไทยพร้อมส่ง-kuedee-shopping
ข้อมูลสินค้า
ราคา
350.00 บาท
ขายแล้ว
37 ชิ้น
ร้านค้า
ในพุทธศาสนาตันตระวัชรยานถือว่า 8 สัญลักษณ์มงคลนี้เป็นสิ่งแทนพระวรกายของ
พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวคือ
ร่มวิเศษ (เป๋าส่าน 宝伞) เป็นสัญลักษณ์แทน พระเศียร (ศีรษะ)
สัญลักษณ์แทนอำนาจแห่งพุทธองค์ที่ปกป้องความร้อนจากสุริยะ ดั่งแสงธรรมที่คอยป้องกันจิตวิญญาณของมนุษย์ให้พ้นภัยจากภยันตรายทั้งปวง
ปลาทอง(จินอวี๋ 金鱼) เป็นสัญลักษณ์แทน พระเนตร (ดวงตา)
สัญลักษณ์แทนตาทั้งคู่ที่เปิดกว้างเสมอแม้อยู่ในน้ำ เหมือนปลาที่ลืมตาว่ายน้ำแม้ในสายน้ำเชี่ยว และความรู้แจ้งต่ออุปสรรคและปัญหาทั้งปวง ดังเช่นการปฏิบัติตนอย่างมีสติสัมปัญชัญญะในวิถีทางที่ถูกต้อง นำพามาซึ่งความสุขและสมหวัง
ดอกบัว (เหลียนฮวา 莲花) เป็นสัญลักษณ์แทน พระชิวหา(ลิ้น)
สัญลักษณ์แทนความบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่แม้กำเนิดจากโคลนตม แต่ก็ไม่แปดเปื้อนมลทิน ซึ่งสัญลักษณ์ดอกบัวในอีกนัยหนึ่งก็คือ การแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์พระศาสดาแห่งพุทธศาสนา
แจกันวิเศษ (เป่าผิง 宝瓶) เป็นสัญลักษณ์แทน พระศอ (คอ)
สัญลักษณ์แทน ที่บรรจุสมบัติ คือพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เปรียบเสมือนทรัพย์ในแจกันสมบัติ ที่จะช่วยให้ผู้ศรัทธาสมมาดปรารถนา
ธงชัย (ไป๋ไก้ 白盖) เป็นสัญลักษณ์แทน พระวรกาย(ร่างกาย)
สัญลักษณ์ทนความรู้อันกระจ่างแจ้งและธรรมเหนืออธรรม เปรียบเสมือนดังธงชัยที่ประกาศพระศาสนาสู่การรู้แจ้งเห็นธรรม
ธรรมจักร (ฝ่าหลุน 法轮) เป็นสัญลักษณ์แทน พระบาท(เท้า)
สัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสอน ความไม่หยุดนิ่งและเคลื่อนที่อยู่เสมอ เป็นวงล้อแห่งธรรมที่แทนคำสอนของพระพุทธองค์ที่ไม่หยุดนิ่ง และเคลื่อนที่สู่ความรุ่งเรืองตลอดเวลา
หอยสังข์ (ฝ่าหลอ 法螺) เป็นสัญลักษณ์แทน พระวาจา(คำพูด)
หรือบางครั้งเรียกว่า หอยสังข์ขาว หรือ ไป๋ไห่หลัว (白海螺) สัญลักษณ์แทนเสียงแห่งพระธรรมของพุทธองค์ที่ก้องกังวานไปทุกสารทิศ หรือเสียงแห่งการประกาศพระศาสดาสู่โลก
เงื่อนไม่รู้จบ (ผานฉาง 盘长) เป็นสัญลักษณ์แทน พระจิต(จิตใจที่รู้แจ้ง)
สัญลักษณ์แทนจิตใจอันพิสุทธิ์ ความลึกซึ้งในห้วงดวงใจความคิดและความรักที่เป็นเงื่อนตายดั่งปมที่ไม่รู้จบ หรือรักอมตะนิรันดร์
อนึ่งอิทธิพลของภาพ 8 สัญลักษณ์สิริมงคลนี้ ยังได้แพร่หลายไปสู่ประเทศอื่น ๆ ตามพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่เผยแผ่ไปจากจีนสู่ดินแดนต่าง ๆ ทำให้คติความเชื่อเรื่อง 8 สัญลักษณ์มงคลมีส่วนสัมพันธ์กับศิลปะของธิเบต เนปาล และภูฏาน ซึ่งจะเรียก 8 สัญลักษณ์นี้ว่า “ทาชิทักเย” (Tashi Tagye)
อ้างอิงจาก : หนังสือ 108 ลัญลักษณ์จีน – ปิยะแสง จันทรวงศไพศาล
หรือ
อัษฎมงคลหรือเครื่องหมายแห่งมงคลทั้งแปด เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาของทิเบต ที่โดยมากปรากฏเป็นลวดลายภาชนะ เครื่องใช้ และเครื่องประดับตกแต่งบนสถาปัตยกรรม ซึ่งมีส่วนคล้ายกับอัษฎมงคลของไทยเรา อันได้แก่ กรอบหน้า คทา สังข์ จักร ธง ชาย ขอช้าง โคเผือก และหม้อน้ำ (บ้างก็ใช้ในพิธีมงคลของพราหมณ์)
สังข์ขาว
พระไตรปิฎก กล่าวว่า สุรเสียงในขณะแสดงธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ดังกังวานไกลออกไปทั่วทั้งสี่ทิศ ราวกับเป็นเสียงจากหอยสังข์กระนั้น ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมักมีการเป่าหอยสังข์ในพิธีเทศนาธรรมครั้งใหญ่
ในทิเบต สังข์ขาวได้รับการเคารพบูชาเป็นเครื่องสูง ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งเสียงธรรมของพระพุทธองค์ที่ขจรขจายไปทั้งสามพันโลกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
คนโท
วัดพุทธในทิเบตมักใช้คนโทบรรจุน้ำสะอาดและทรัพย์มณีอันมีค่า บ้างประดับด้วยขนหางนกยูงหรือต้นอยู่อี่ (มีความหมายว่า สมปรารถนา อาจได้แก่ กิ่งสนหรือทับทิม) เพื่อสื่อความหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งการหลุดพ้นจากโลก
คนโทจึงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล ความบริสุทธิ์สะอาด และโชคลาภ ทั้งยังหมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่รั่วไหล ลาภปัญญาอเนกอนันต์ และความมีอายุยืนยาว
ฉัตร(ร่ม)
ในสมัยอินเดียโบราณ บรรดาเชื้อพระวงศ์สูงศักดิ์ มักจะกางร่มหรือฉัตร เมื่อต้องออกจากเคหสถานของตน ภายหลังฉัตรได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแสดงอิสริยยศในกองทัพ และยังมีความหมายของอำนาจบารมีอีกด้วย
ฉัตร สำหรับพุทธศาสนาในทิเบตจึงเป็นสัญลักษณ์ของการป้องกันภัยจากมารร้าย และคุ้มครองพระพุทธธรรมคำสอน
เงื่อนอนันตภาคย์
เงื่อนอนันตภาคย์หรือเงื่อนแห่งสิริมงคล หมายถึง ปมเงื่อนที่คดเคี้ยวไปมา แต่ทุกช่องทางล้วนสามารถผ่านได้โดยตลอด ด้วยเส้นทางนี้ ผู้ที่อุทิศตนเจริญรอยตามพระพุทธเจ้า ย่อมสามารถค้นพบมุขยปัญญาและความตื่นรู้ ท่ามกลางกระแสธารแห่งชีวิต
ธรรมจักร
ธรรมจักร เป็นสัญลักษณ์ของ 3 สิ่ง นั่นคือ การทำลาย (เพื่อสร้างใหม่) วัฏจักร (หมุนเวียนไม่จบสิ้น) และความสมบูรณ์พร้อม (ไม่สิ้นสุด) หรือที่เข้าใจทั่วไปในหมู่ชาวไทยว่าเป็นสัญลักษณ์ของ วัฎสงสารแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ที่หมุนไปไม่มีที่สิ้นสุด
ปลาทอง
หรือมัจฉาบนที่ราบสูง เป็นสัญลักษณ์ของดวงตาแห่งปัญญา
ทิเบตมักใช้สัญลักษณ์เป็นรูปปลาทองคู่หนึ่ง มีความหมายถึงการหลุดพ้น และการกลับชาติมาเกิดใหม่ ความเป็นอมตะ เป็นต้น ในทางพุทธศาสนา หมายถึง การเห็นแจ้งในธรรมและความเป็นอิสระหลุดพ้นจากความทุกข์ทางโลก
ดอกบัว
ดอกบัวมีคุณสมบัติ 4 ประการ ได้แก่ หอม สะอาด นุ่มนวลและงามตา (ทำให้สบายใจ) ทั้งในธรรมชาติของบัวเกิดแต่ตม แต่สามารถคงความสะอาดบริสุทธิ์แห่งตนไว้ได้
ชาวพุทธในทิเบตจึงเห็นว่า ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของการบรรลุธรรมขั้นสุดท้ายนั่นคือ การหลุดพ้น
ตุง (ธง)
“ตุง” เป็นธงชนิดหนึ่งที่ใช้ในกองทัพสมัยอินเดียโบราณ
แต่ในพุทธศาสนาใช้ “ตุง” แทนความหมายของการหลุดพ้นจากทุกข์ การบรรลุมรรคผลนิพพาน
ในทิเบต “ตุง” แทนความหมายของ วิถีแห่งการดับทุกข์ ทั้ง 11 อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา การปล่อยวาง ความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ความไม่หลงในอัตตา ความตื่นรู้และจิตอันบริสุทธิ์ผ่องใส
คำที่เกี่ยวข้อง
โถจุดกำยานธูปจุดกำยานโถจุดกำยานอินเดียโถจุดกำยานจีนโถจุดกำยานทองเหลืองกระถางจุดกำยานเตาจุดกำยานที่จุดกำยานกระถางจุดกำยานจีนเตาจุดกำยานอาหรับ

สินค้าใกล้เคียง