รูปหล่อ หลวงปู่ใหญ่ วัดบ้านหว้า พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์เมืองขอนแก่น สภาพเดิมเลี่ยมพร้อมใช้ สุดยอดพุทธคุณ
รูปหล่อ-หลวงปู่ใหญ่-วัดบ้านหว้า-พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์เมืองขอนแก่น-สภาพเดิมเลี่ยมพร้อมใช้-สุดยอดพุทธคุณ
ข้อมูลสินค้า
ราคา
1,988.00 1,500.00 บาท
แบรนด์
No Brand
ร้านค้า
  • หลวงปู่ใหญ่ เป็นศิลปะอู่ทอง (ลาว) ไม่ใช่ศิลปะอู่ทอง หรือศิลปะลพบุรี (เขมร)แบบบริสุทธิ์ แต่เป็นศิลปะร่วมระหว่างศิลปะอู่ทอง กับศิลปะล้านช้างยุคต้น (ลาว) หล่อหลอมศิลปะร่วมกัน ระหว่างสกุลช่างลาวกับสกุลช่างลพบุรี (เขมร) อายุประมาณ 450 - 550 ปี หรือ นักวิชาการสมัยใหม่รวมถึงนักอนุรักษ์พระบูชา จะเรียกศิลปะนี้ว่า ศิลปะอู่ทองลาว ซึ่งในยุคนี้มีปรัชญาการสร้างพระพุทธรูปให้มีลักษณะคล้ายมนุษย์มากที่สุด พุทธลักษณะหลวงปู่ใหญ่ พระพุทธรูป ปางสดุ้งมาร เนื้อหินทรายโบกปูน ลงรัก ชาดหรดาร ปิดทอง หน้าตักกว้าง 52.2 นิ้ว สูง 58.5 นิ้ว ไม่มีเม็ดพระศก มีมวยผมคล้ายดังก้นหอย หรือคล้ายฝาละมี พระพักตร์แสดงอาการเคร่งขรึม พระขนงยาวโค้งดูกลมกลืนกับใบหน้า พระเนตรเหลือบต่ำเปิดกว้างแบบ “ตาเนื้อ” พระนาสิกโด่งแต่ไม่งุ้มงอ พระโอษฐ์ใหญ่แบะ ยาวย้อยพอประมาณ พระวรกายทรงกระบอกแบบต้อ ครองจีวรห่มเฉลียง ชายสังฆาฏิด้านหน้าพาดพระอังสาซ้ายยาวจรวดพระนาภีปลายเป็นหางแซงแซว ชายสังฆาฏิด้านหลังจะยาวจรดแท่นประทับ แต่ก่อนแท่นประทับจะเป็นศิลาแลงก้อนใหญ่ และข้างนอกจะมีการบูรณะประมาณ 100 - 200 ปี อีกเพราะมีอิฐที่ปั้นจากดินก้อนใหญ่ยาวเกือบศอกทำลอบนอกอีกชั้น เมื่อครั้งความเจริญยังเข้าไม่ถึง เมื่อก่อนได้มีการลักลอบขุดที่ฐานประทับหลวงปู่ใหญ่ โจรใจบาปได้ไปก็เป็นส่วนน้อย แต่ส่วนที่เหลืออยู่ก็มาก อีกทั้งส่วนที่ยังไม่ได้ทำการขุดเปิดดูก็มากทีเดียว ในครั้งนั้นพระที่ทำการบรรจุเข้าไปใหม่ที่เหลือจากคนร้ายเอาไปเท่าที่คนจำได้จะมีเป็นพระเนื้อสำริดสมัยเชียงรุ้ง (ลาว) เขมรองค์เล็กๆ พระหว่านพิมพ์ต่างๆ พระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงขนาดห้อยคอ พิมพ์เดียวกับกรุบ้านต้น และพิมพ์ต่างๆ อีกหลายร้อยองค์ ได้บรรจุใส่ไหแล้วเก็บไว้ในชุกชีโบกปูนไว้เหมือนเดิม ส่วนเรื่องปาฏิหาริย์หลวงปู่นั้น มากเหลือคณาเลยทีเดียว คนทั้งตำบล 13 หมู่บ้านนี้ รวมทั้งอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงต่างก็มากราบวิงวอน หรือ บนบานท่านตลอด หลวงปู่ท่านเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่มากองค์หนึ่งไม่แปลกเลยที่รุกขเทวดา หรือ เทพยดาทั้งหลาย คอยรักษา คอยภิบาลท่านอยู่ จะกี่ปีผ่านมาก็ตามความศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็คงประจักษ์แก่ผู้ที่ไปนมัสการท่านตลอดมา ส่วนคนเก่าแก่ท่านก็เห็นดวงไฟเป็นลำแสงเสด็จไปมาอยู่เสมอๆ
  • การเดินทาง : จากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 12 ถนนมะลิวัลย์ (ขอนแก่น - ชุมแพ) ถึงหลักกีโลเมตรที่ 15 แยกบ้านทุ่มเลี้ยวซ้าย ใช้เส้นทาง (บ้านทุ่ม - มัยจาคีรี) ประมาณ 8 กิโลเมตร ถึงบ้านเหล่านาดี เลี้ยวขวาเส้นทาง บ้านหว้า - ดอนช้าง จากปากทางถึงวัด 1 - 2 กิโลเมตร วัดโพธ์ชัย อยู่ทางขวามือ

หลวงปู่ใหญ่ เป็นศิลปะอู่ทอง (ลาว) ไม่ใช่ศิลปะอู่ทอง หรือศิลปะลพบุรี (เขมร)แบบบริสุทธิ์ แต่เป็นศิลปะร่วมระหว่างศิลปะอู่ทอง กับศิลปะล้านช้างยุคต้น (ลาว) หล่อหลอมศิลปะร่วมกัน ระหว่างสกุลช่างลาวกับสกุลช่างลพบุรี (เขมร) อายุประมาณ 450 - 550 ปี หรือ นักวิชาการสมัยใหม่รวมถึงนักอนุรักษ์พระบูชา จะเรียกศิลปะนี้ว่า ศิลปะอู่ทองลาว ซึ่งในยุคนี้มีปรัชญาการสร้างพระพุทธรูปให้มีลักษณะคล้ายมนุษย์มากที่สุด พุทธลักษณะหลวงปู่ใหญ่ พระพุทธรูป ปางสดุ้งมาร เนื้อหินทรายโบกปูน ลงรัก ชาดหรดาร ปิดทอง หน้าตักกว้าง 52.2 นิ้ว สูง 58.5 นิ้ว ไม่มีเม็ดพระศก มีมวยผมคล้ายดังก้นหอย หรือคล้ายฝาละมี พระพักตร์แสดงอาการเคร่งขรึม พระขนงยาวโค้งดูกลมกลืนกับใบหน้า พระเนตรเหลือบต่ำเปิดกว้างแบบ “ตาเนื้อ” พระนาสิกโด่งแต่ไม่งุ้มงอ พระโอษฐ์ใหญ่แบะ ยาวย้อยพอประมาณ พระวรกายทรงกระบอกแบบต้อ ครองจีวรห่มเฉลียง ชายสังฆาฏิด้านหน้าพาดพระอังสาซ้ายยาวจรวดพระนาภีปลายเป็นหางแซงแซว ชายสังฆาฏิด้านหลังจะยาวจรดแท่นประทับ แต่ก่อนแท่นประทับจะเป็นศิลาแลงก้อนใหญ่ และข้างนอกจะมีการบูรณะประมาณ 100 - 200 ปี อีกเพราะมีอิฐที่ปั้นจากดินก้อนใหญ่ยาวเกือบศอกทำลอบนอกอีกชั้น เมื่อครั้งความเจริญยังเข้าไม่ถึง เมื่อก่อนได้มีการลักลอบขุดที่ฐานประทับหลวงปู่ใหญ่ โจรใจบาปได้ไปก็เป็นส่วนน้อย แต่ส่วนที่เหลืออยู่ก็มาก อีกทั้งส่วนที่ยังไม่ได้ทำการขุดเปิดดูก็มากทีเดียว ในครั้งนั้นพระที่ทำการบรรจุเข้าไปใหม่ที่เหลือจากคนร้ายเอาไปเท่าที่คนจำได้จะมีเป็นพระเนื้อสำริดสมัยเชียงรุ้ง (ลาว) เขมรองค์เล็กๆ พระหว่านพิมพ์ต่างๆ พระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงขนาดห้อยคอ พิมพ์เดียวกับกรุบ้านต้น และพิมพ์ต่างๆ อีกหลายร้อยองค์ ได้บรรจุใส่ไหแล้วเก็บไว้ในชุกชีโบกปูนไว้เหมือนเดิม ส่วนเรื่องปาฏิหาริย์หลวงปู่นั้น มากเหลือคณาเลยทีเดียว คนทั้งตำบล 13 หมู่บ้านนี้ รวมทั้งอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงต่างก็มากราบวิงวอน หรือ บนบานท่านตลอด หลวงปู่ท่านเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่มากองค์หนึ่งไม่แปลกเลยที่รุกขเทวดา หรือ เทพยดาทั้งหลาย คอยรักษา คอยภิบาลท่านอยู่ จะกี่ปีผ่านมาก็ตามความศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็คงประจักษ์แก่ผู้ที่ไปนมัสการท่านตลอดมา ส่วนคนเก่าแก่ท่านก็เห็นดวงไฟเป็นลำแสงเสด็จไปมาอยู่เสมอๆ

การเดินทาง : จากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 12 ถนนมะลิวัลย์ (ขอนแก่น - ชุมแพ) ถึงหลักกีโลเมตรที่ 15 แยกบ้านทุ่มเลี้ยวซ้าย ใช้เส้นทาง (บ้านทุ่ม - มัยจาคีรี) ประมาณ 8 กิโลเมตร ถึงบ้านเหล่านาดี เลี้ยวขวาเส้นทาง บ้านหว้า - ดอนช้าง จากปากทางถึงวัด 1 - 2 กิโลเมตร วัดโพธ์ชัย อยู่ทางขวามือ

คำที่เกี่ยวข้อง
พระพุทธรูปหลวงปู่โต๊ะพระพุทธรูปโบราณรูปหล่อหลวงปู่หงษ์รูปหล่อหลวงปู่มั่นรูปหล่อหลวงปู่หมุนรูปหล่อหลวงปู่สรวงรูปหล่อหลวงปู่โต๊ะรูปหล่อหลวงปู่ศิลารูปหล่อหลวงปู่หลิวรูปหล่อหลวงปู่เอี่ยม

สินค้าใกล้เคียง