หนังสือ คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
หนังสือ-คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ข้อมูลสินค้า
ราคา
320.00 272.00 บาท
แบรนด์
No Brand
ร้านค้า
คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ประเทศไทยได้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมาตั้งแต่วันที่ ๑๖เมษายน ๒๕๑๖ ในรูปของประกาศกระทรวงมหาดไทย ออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๐๓ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๑ ๖ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงนนี้ได้ใช่บังคับมาเป็นเวลานานกว่า ๒๕ ปี รัฐสภาจึงได้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้มีการคุ้มครองลูกจ้างในเรื่องชั่วโมงทำงาน การคุ้มครองแรงงานหญิง การคุ้มครองแรงงานเด็ก การจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง รวมทั้งการกำหนดบทบาทของพนักงานตรวจแรงงานในการดูแลสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง และได้เปิดโอกาสให้รัฐบาลออกข้อยกเว้น และการใช้บังคับแตกต่างไปจากกฎหมายได้โดยออกเป็นกฎกระทรวง ประกอบกับกฎหมายฉบับนี้ ถือเป็นกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และยังถือเป็นข้อตกลงสภาพการจ้างซึ่งนายจ้างต้องกำหนดเป็นข้อบังคับในการทำงานด้วย การออกข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของสถานประกอบกิจการในการทำงานที่ไม่ขัดหรือฝ่าฝืนข้อกำหนดในกฎหมายนี้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ทั้งนายจ้าง ผู้บริหารงานบุคคล และลูกจ้างโดยทั่วไปต้องสนใจ และทำความเข้าใจเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง ต่อไปในการเรียบเรียงคำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับนี้ ผมได้ปรับปรุงจากคำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ได้เรียบเรียงไว้แล้ว จากประสบการณ์ที่ผมได้ร่วมในการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ในฐานะกรรมาธิการชั้นวุฒิสภา การดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงนกลาง และการได้เข้าศึกษาที่เนติบัณฑิตสภา ผมได้แก้ไขมาตราต่างๆให้เป็นปัจจุบันตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ พร้อมในคำอธิบายตามคำพิพากษาฎีกาจนถึงปี ๒๕๖๒ และขยายความไปถึงกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงแรงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ผมยังได้เพิ่มเติมคำพิพากษาฎีกาที่เคยใช้ในการทดสอบความรู้เนติบัณฑิต ข้อสอบคัดเลือกข้าราชการอัยการ และข้อสอบคัดเลือกผู้ช่วยผู้พิพากษาที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานด้วย จึงเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งฝ่ายนายจ้าผู้บริหารงานบุคคล ลูกจ้าง ทนายความ ผู้ที่จะเข้าสอบคัดเลือกข้าราชการอัยการผู้ช่วยผู้พิพากษา รวมถึงผู้สนใจโดยทั่วไป
คำที่เกี่ยวข้อง
คำอธิบายกฎหมายแรงงานกฎหมายคุ้มครองแรงงานหนังสือคำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้คำอธิบายกฎหมายปกครองคำอธิบายกฎหมายละเมิดคำอธิบายกฎหมายครอบครัวคำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญคำอธิบายกฎหมายมรดกคำอธิบายกฎหมายทรัพย์สิน

สินค้าใกล้เคียง