ละครแห่งชีวิต : The Circus of Life
ละครแห่งชีวิต-the-circus-of-life
ข้อมูลสินค้า
ราคา
360.00 บาท
แบรนด์
No Brand
ร้านค้า


ผู้เขียน: หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง
สำนักพิมพ์: แสงดาว
จำนวนหน้า: 416 หน้า ปกอ่อน
พิมพ์ครั้งที่ 2 — พฤศจิกายน 2562
ISBN: 9786163883803



ละครแห่งชีวิต ผลงาน หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง ถือเป็นนวนิยายยุคแรกที่แต่งโดยคนไทย ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ในหนังสือดี 100 เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน ประเภทบันเทิงคดี

เปิดฉากด้วยภาคปฐมวัยสะท้อนภาพสังคมครอบครัวแบบระบบเจ้าขุนมูลนาย ซึ่ง ด.ช.วิสูตรมองว่าตัวเองช่างเป็นเด็กอาภัพนัก เหตุเพราะไม่เป็นที่โปรดของพ่อ เหมือนเป็นหมาหัวเน่า จะมีก็เพียงยายพร้อมที่เป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลและเฝ้าปลอบยามที่เขาทุกข์ใจ ยายพร้อมพูดกับเขาเสมอว่าเรื่อง “อาภัพ” และ “โชค” แม้ว่าเขาจะอาภัพในเรื่องความรักจากพ่อแม่ แต่เขาก็มีโชคทางการพนัน วิสูตรเป็นเด็กที่เกเร หัวเรือใหญ่ เจ้าคิดเจ้าแค้น และไม่เชื่อใจในเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พอเขาอายุได้ 17 ปี เพื่อนร่วมชั้นเรียนที่ชื่อ ประดิษฐ์ ทำให้เขารู้จักกับคำว่า “มิตรภาพ” และ “น้ำใจ” อย่างแท้จริง

ซึ่งในช่วงนี้วิสูตรกับแม่มีเหตุต้องขยับขยายออกจากคฤหาสน์ของพ่อเพื่อหลีกทางให้กับผู้หญิงที่สาวกว่า วิสูตรตามแม่มาอยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกับประดิษฐ์ที่ฝั่งธนบุรีและได้บ่มเพาะความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ ลำจวน น้องสาวของประดิษฐ์ ต่อมาประดิษฐ์ได้รับทุนไปเรียนต่อที่เมืองนอก จึงทำให้เขาขาดเพื่อนคู่ใจ ส่วนลำจวนก็ตีจากไปคบกับร้อยโทกมลหนุ่มนักเรียนนอก จึงทำให้เขาคิดอยากจะ “ไปเมืองนอก” เพื่อแสวงหาความเจริญรุ่งเรืองของต่างบ้านต่างเมืองบ้าง

เขาได้พบ มาเรีย เกรย์ สาวนักหนังสือพิมพ์ลูกครึ่งอังกฤษอิตาเลียน ได้ชักชวนให้วิสูตรเข้าสู่วงการหนังสือพิมพ์ โดยใชนามปากกา บ็อบบี้ ชีวิตช่วงนี้ของเขาเต็มไปด้วยเรื่องการผจญภัยกับได้เรียนรู้สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ได้มีโอกาสไปประเทศต่างๆ ได้สัมภาษณ์บุคคลสำคัญระดับโลก อิ่มเอิบกับความรักและมิตรภาพในแวดวงของคนหนังสือพิมพ์และได้สัมผัสกับผู้หญิงอีกหลายคน

จุดหักเหของชีวิตมาถึงเมื่อวิสูตรประสบอุบัติเหตุ ทำให้ต้องเลิกอาชีพนักหนังสือพิมพ์ สุขภาพทรุดโทรม ฐานะการเงินตกต่ำ จึงตัดสินใจไปตายดาบหน้าเดินทางไปเผชิญโชคในอเมริกา ซึ่งเขาได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงเรียนวิชาต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยยอร์จทาวน์ แต่ก็ไม่สามารถเรียนได้ เพราะสายตาได้รับความกระทบกระเทือนจากอุปัทวเหตุ รถยนต์ในครั้งนั้น เขาจึงทิ้งชีวิตนักเรียนนอกพร้อมเดินทางกลับบ้านเกิด เขาได้ผ่านญี่ปุ่นและจีน โดยมีพอลลี เดอร์คลูด ลูกสาวนักค้าของเก่าเป็นเพื่อนร่วมทาง

วิสูตรและมาเรียพบกันเป็นครั้งสุดท้ายที่ท่าเรือเมืองเซียงไฮ้ เวลา 6 ปีที่ใช้ชีวิตในต่างแดน การกลับเมืองไทยครั้งนี้เขาไม่ได้มองว่าตนเป็นคนอาภัพอีกต่อไป เขากลับเข้าไปอยู่บ้านเดิมของพ่อ และเข้ากับพี่น้องได้ดี เขาไม่มีความน้อยใจที่ยากจน เพราะถือว่าประสบการณ์ที่เห็นสิ่งดีงามมามาก แล้วทั่วโลกสำคัญกว่าความยากดีมีจน สิ่งที่เขาค้นพบจากการแสวงหาอันยาวนาน นี้ก็คือ การรู้จักตนเองและเพื่อนร่วมโลกมากขึ้น และสามารถปรับตนให้เป็นคนในสังคมได้มากขึ้น
คำที่เกี่ยวข้อง
โรงละครแห่งความผิดเพี้ยนพลังแห่งชีวิตดวงตาแห่งชีวิตต้นไม้แห่งชีวิตอัญมณีแห่งชีวิตเศรษฐศาสตร์แห่งชีวิตความสุขแห่งชีวิตจิตรกรแห่งชีวิตสมัยใหม่หนังสือ พลังแห่งชีวิตคู่มือสีแห่งชีวิต

สินค้าใกล้เคียง