หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง เหรียญที่ระลึกสร้างสะพานท่าช้าง ปี2537 เนื้อทองแดง
หลวงพ่อแพ-วัดพิกุลทอง-เหรียญที่ระลึกสร้างสะพานท่าช้าง-ปี2537-เนื้อทองแดง
ข้อมูลสินค้า
ราคา
399.00 159.00 บาท
แบรนด์
No Brand
ร้านค้า

หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง เหรียญที่ระลึกสร้างสะพานท่าช้าง ปี2537 เนื้อทองแดง

ประวัติหลวงพ่อแพ เขมังกโร วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี

พระธรรมมุนี หรือ หลวงพ่อแพ เขมังกโร มีนามเดิมว่า แพ ใจมั่นคง เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ 2448 ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ  เดือนยี่ ปีมะเส็ง ณ บ้านสวนกล้วย เลขที่ 93/3 หมู่ที่ 3 ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี  บิดาชื่อนาย เทียน ใจมั่นคง มารดาชื่อนาง หน่าย ใจมั่นคง มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 4 คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง

เมื่ออายุได้ 8 เดือน โยมมารดาผู้ให้กำเนิดได้ถึงแก่กรรม ดังนั้น นายบุญ และ นางเพียร ขำวิบูลย์  สามีภรรยาซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ได้ขอเด็กชายที่อายุเพียง 8 เดือน จากนาย เทียน ใจมั่นคง โยมบิดาผู้บังเกิดเกล้า โดยรับอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม

การศึกษา

เมื่ออายุได้  1 1 ปี โยมบิดา-มารดาบุญธรรม ( นายบุญ และ นางเพียร ขำวิบูลย์ ) ได้นำด็กชาย แพ ไปฝากอยู่วัดกับสำนักอาจารย์ป้อม เพื่อที่จะศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม คือ การเรียนภาษาไทย  ภาษาขอม นอกจากนั้น ยังได้เรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจ ทางธรรมก็มีพระมาลัยสูตร และ ยังได้หัดอ่านพระธรรมเจ็ดคัมภีร์

ปี พ.ศ 2461 เมื่ออายุได้  14 ปี โยมบิดา-มารดาบุญธรรมได้ส่งไปศึกษาต่อที่สำนักวัดอาจารย์สม ภิกษุชาวเขมร วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ การศึกษาในกรุงเทพฯ ขั้นแรกได้เริ่มเรียนหนังสือโบราณท่อวสนธิ ( อัตโถ อักขระสัญญโตฯ ) , เรียนมูลกัจจายนสูตร เป็นเวลา  1 ปี ต่อมาก็ไปเป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

การบรรพชา

ต่อมาปี พ.ศ 2463  เมื่อศึกษาหาความรู้จนอายุได้  16 ปี ก็ได้เดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อมาเยี่ยมโยมบิดาผู้ให้กำเนิด และ โยมบิดา-มารดาบุญธรรม เมื่อบุพการีทั้งสามของท่านเห็นว่าท่านโตพอสมควรแล้ว จึงได้ให้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน  พ.ศ 2463 ณ วัดพิกุลทอง  ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี  โดยมีพระอธิการพัน จันทสโล เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ( ในขณะนั้น ) เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อบรรพชาเป็นสามเณร แล้ว ก็ได้เดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม จนเมื่อปี พ.ศ 2466 ท่านสามารถสอบไล่นักเรียนนักธรรมตรีได้ ( ในสมัยนั้น ผู้เข้าสอบต้องอายุ 19 ปีจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบได้ ) นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ ต่อไปอีก จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ 2468 นับว่าได้นำเกียรติมาสู่วัดชนะสงคราม เป็นอย่างมาก จากนั้นท่านได้ไปเล่าเรียนที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์  โดยเป็นศิษย์ขอว ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต ( เฮง เขมจารี )

ในปี พ.ศ 2468 นายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าก็ได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงเดินทางกลับไป จ.สิงห์บุรี  เพื่อจัดการศพโยมบิดา แล้วกลับมาอยู่วัดชนะสงครามเช่นเดิม

การอุปสมบท

สามเณรเปรียญ แพ ขำวิบูลย์ ได้ทำการอุปสมบทเมื่ออายุครบ 21 ปี บริบูรณ์ ในวันขึ้น 6 ค่ำ ปีขาลตรงกับวันพุธที่ 21 เมษา พ.ศ 2469 ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง  โดยมีพระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ  เป็นพระอุปัชฌาย์ , ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ” เขมังกโร  ” แปลว่า  ” ผู้ทำความเกษม  ”

หลังจากอุปสมบทแล้ว พระแพ เขมังกโร หรือ มหาแพ ก็ได้เดินทางกลับสู่วัดชนะสงคราม เพื่อตั้งใจศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ให้ได้ในระดับสูงที่สุด เพื่อท่ีจะได้นำความรู้ ความสามารถที่ได้ฝักไฝ่ศึกษาเล่าเรียนนั้น นำไปสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่า และประโยชน์ต่อชุมชน และพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ พระแพ เขมังกโร พยายามที่จะศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ อ่านหนังสือตำราเรียนอยู่เสมอ และในปีเดียวกันนั้นท่านสอบนักธรรมชั้นโทได้

โดยความมานะ อดทน พยายาม โดยอาศัยแสงสว่างจากเทียนไขและตะเกียง โดนส่วนมาก เพราะสาเหตุนี้ นัยน์ตาอันเป็นส่วนสำคัญของสังขาร ก็เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ทุกครั้งที่ตรากตรำอ่านหนังสือมากเกินไป ในที่สุด นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้แนะนำไม่ให้อ่านหนังสืออีกต่อไป มิฉะนั้น นัยน์ตาอาจพิการได้

ดังนั้นภายหลัง หลังจากสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคแล้ว การศึกษาด้านพระปริยัติธรรม  ก็ต้องยุติลง แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจไฝ่การศึกษา พระแพ เขมังกโร จึงได้ศึกษา และปฏิบัติสมถกัมมัฎฐาน วิปัสสนามัฎฐาน ในสำนักของพระครูภาวนาฯ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จนชำนาญและดำเนินการสั่งสอนให้แก่ประชาชนทั่วไป

ระหว่าง ปี พ.ศ 2471 – 2472 ท่านได้รับหน้าที่เป็นครูสอนบาลี โดยสอนตามคณะต่างๆ ของวัดชนะสงคราม

ในปี พ.ศ 2474 พระอาจารย์หยด พวงมสิต เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ได้ลาสิกขา ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างเว้นลง ชาวบ้านพิกุลทอง และชาวบ้านจำปาทอง จึงนิมนต์ให้พระแพ มารับเป็นเจ้าอาวาส ในเดือนเมษายน พ.ศ 2474 ขณะนั้นท่านได้เดินทางกลับมาเยี่ยมโยมบิดาและญาติ ซึ่งท่านได้พำนักอยู่ที่วัดพิกุลทอง

ท่านเห็นว่าวัดพิกุลทองเป็นวัดบ้านเกิดเมืองนอน ตอนนี้เสนาสนะชำรุดทรุดโทรมมาก โดยเฉพาะพระอุโบสถซึ่งสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ 2440 และขณะนั้นท่านได้หยุดพักรักษานัยน์ตา ประสงค์จะพักผ่อนหาความสงบ คิดว่าเมื่อตาหายดีแล้ว ก็จะไปศึกษาบาลีนักธรรมต่อตามความตั้งใจเดิม จึงรับปากว่าจะมาอยู่วัดพิกุลทอง ในระหว่างที่ยังว่างเว้นเจ้าอาวาสอยู่ ในขณะนั้น พระแพ มีอายุเพียง 16 ปี

ปี พ.ศ 2482 คณะสงฆ์แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลถอนสมอ และในปีเดียวกันหลวงพ่อพิจารณาเห็นว่า พระอุโบสถชำรุดทรุดโทรมมาก เมื่อพระสงฆ์ประกอบพิธีสังฆกรรมแต่ละครั้ง ต่างก็กลัวไม้หลังคากระเบื้องจะหล่นถูกศีรษะ ไม่มีจิตเป็นสมาธิ ท่านจึงริเริ่มคิดที่จะบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ

เมื่ออายุประมาณ 24 – 25 ปี สมัยยังศึกษาอยู่ที่กรุงเทพฯ ท่านได้เริ่มสนใจในทางปฏิบัติ เพื่อหาความสงบทางใจ จึงเข้าอบรม และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในสำนักพระครูภาวนาฯ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ( วัดโพธิ์ท่าเตียน ) ได้ความรู้ในแถวทางปฏิบัติมาพอสมควร และยังได้ศึกษาจาก ท่านอาจารย์พระครูใบฎีกาเกลี้ยง วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นพระฐานานุกรม และศิษย์อยู่ใกล้ชิด สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเชี่ยวทางด้านสร้าง – ลบผงพุทธคุณ พระครูใบฎีกาเกลี้ยงท่านได้เมตตาสั่งสอนอบรม และมอบตำราเกี่ยวกับจิตศาสตร์วิทยาคมให้

ต่อมาทราบว่าในท้องที่อำเภอบางระจัน มีพระอาจารย์เรืองวิทยาคมอยู่รูปหนึ่ง มีคนนับถือและเกรงกลัวมาก เพราะวาจาศักดิ์สิทธิ์ ชื่อ หลวงพ่อศรี เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ ท่านจึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ จนมีความสามารถ และเป็นที่โปรดปรานของ หลวงพ่อศรี เป็นอย่างยิ่ง

ท่านเล่าว่า  หลวงพ่อศรี เมตตาสอนวิทยาคมให้อย่างไม่ปิดบังอำพราง และในขณะที่ก่อสร้างพระอุโบสถ หลวงพ่อศรี ก็แนะนำให้ท่านสร้างแหวน และทุกครั้งที่ท่านได้สร้างเสร็จ ท่านจะนำไปถวายหลวงพ่อศรีปลุกเสก ( ท่านถามหลวงพ่อศรีว่า สร้างแล้วคนนิยมกันไหม หลวงพ่อศรีท่านบอกว่า นิยมมาก ให้สร้างมากๆ ท่านสนับสนุน ) ด้วยความ เมตตาของหลวงพ่อศรีนี้เอง ทำให้ท่านได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ได้สำเร็จ ในเวลา 2 ปีเศษ

เมื่อหลวงพ่อมีบารมีมากขึ้นตามลำดับ วัดหลายวัดต่างนิมนต์ท่านเป็นประธานในการก่อสร้างวัด พระวิหาร และถาวรวัตถุต่างๆ มากมายหลายวัด  เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ 2493 วัดทางแถบอำเภอวุ้ง จ. ลพบุรี ก็ได้นิมนต์ท่านไปร่วมงาน

หลวงพ่อเล่าว่า ท่ายเพลียมากจึงชวนศิษย์ไปจำวัดที่ หอสวดมนต์ ซึ่งที่นั้นมีคนจำนวนมาก นอนอยู่ก่อนแล้ว ก่อนนอนท่านเอาผ้าอาบน้ำฝนใส่ไว้ในย่าม จึงรู้สึกว่าย่ามใหญ่ คิดว่าคนที่นอนอยู่ก่อน คงเข้าใจว่าเป็นเงิน ด้วยความอ่อนเพลียท่านจึงหลับสนิทไป พอท่านตื่นจากจำวัดเวลาเช้ามืด พบว่าย่ามหายไปแล้ว จึงแจ้งทางวัดทราบ สำหรับสิ่งของในย่ามมีเพียงของเล็กๆน้อย แต่ของที่สำคัญก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งได้รับจากสมบัติของโยมวัดชนะสงคราม จึงเป็นของที่แท้และทรงคุณค่าทางด้านจิตใจของหลวงพ่อมาก ท่านจึงเสียดายเป็นอย่างมาก

ญาติโยมช่วยกันติดตาม ปรากฏว่าได้รับของอื่นคืนครบทุกชิ้น ยกเว้น พระสมเด็จ สอบถามผู้ขโมยได้ความว่า ได้นำไปขายให้บุกคนไม่ทราบชื่อ ไม่สามรถติดตามคืนได้ หลวงพ่อเล่าว่า ท่านเสียดายมาก ระหว่างนั้นต้องไปขอยืมสมเด็จวัดระฆังจากอาจารย์หยด ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาวาส มาติดตัวไปก่อน

ด้วยความเคารพในบารมีสมเด็จพระพุฒจารย์โตเป็นอย่างยิ่ง ทำให้หลวงพ่ออธิษฐานขอบารมี ณ วัดไชโยวรวิหาร ขอสร้างพระโลหะพิมพ์สมเด็จขึ้นใช้เอง แลแจกจ่ายให้กับผู้เคารพศรัทธา จนกระทั่งในปี พ.ศ 2494 ประมาณเดือน 6 ท่านได้นำช่างมาเททองหล่อ ที่ด้านใต้โบสถ์หลังเก่า โดยได้รับโลหะจากผู้ที่มาร่วมพิธีนำมาหล่อ เช่น เครื่องเงิน ขันลงหิน โต๊กทาน เชียนหมาก สตางค์แดง สตางค์ข้าว สตางค์สิบ ทองเหลือง เป็นจำนวนมาก

บทความสั้นตอนหนึ่งที่หลวงพ่อได้กล่าว

ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์  พ.ศ 2514 ซึ่งวันนั้นเป็นวันที่คับคั่งไปด้วยศิษยานุศิษย์เกือบจะเต็มศาลาการเปรียญ วันนั้นหลวงพ่อได้กล่างออกมาด้วยความปิติต่อชุมชนว่า” การเดินทางไปอินเดียครั้งนี้ เสมือนกับบุตรไปเยี่ยมภูมิประเทศบิดา เพื่อเป็นการถวายสักการบูชา เป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาคุณ ในเมื่อมีโอกาสก็ควรจะกระทำ ซึ่งการเดินทางไปอินเดียในครั้งนี้จะประกอบกิจเป็นกรณีพิเศษ ……”

การบูรณะ

ค่ายบางระจันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนท้องถิ่นและผู้ไปเเที่ยวชมมากต่อมาก โดยเฉพาะก้อนอิฐ ซึ่งแต่ละก้อนจะประทับดอกจันทร์ไว้ ชาวบ้านเกรงกลัวเป็นอย่างยิ่ง และต้นไม้แดงซึ่งมีมากบริเวณค่าย ไม่มีใครสามรถตัดได้ แม้แต่กิ่งแห้งเหี่ยวตกลงมา ชาวบ้าน หรือแม้กระทั่งพระในวัด นำไปเป็นฟืนหุงต้มยังวิบัติ  สิ่งสำคัญและศักดิ์สิทธิ์อีกอย่างหนึ่งก็คือสระน้ำหน้าวิหารพระอาจารย์ ธรรมโชติ สมัยก่อนมีปลาชุมคลักอยู่ก้นบ่อ ผู้ใดจับไปกินจะเกิดอาเพศต่างๆ แม้น้ำในบ่อเคยมีคนนำไปเติมหม้อน้ำรถ หม้อน้ำก็ยังระเบิด

ชาวบ้านบางระจันจึงพร้อมใจยอมรับกันว่า มีแต่หลวงพ่อเท่านั้นที่จะเป็นผู้นำในการบูรณะครั้งนี้ โดยแต่เดิมท่านก็ได้ดูแลมาตั้งแต่ พ.ศ 2488 จนในปี  พ.ศ 2508 8 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งให้ท่านเป็นกรรมการฟื้นฟู และบูรณะค่ายบางระจัน และปลูกต้นโพธิ์ อีก8ต้น รวมกันต้นเก่าที่มีอยู่แล้ว

หลวงพ่อแพ ท่านได้นำพาชาวบ้านและศิษยานุศิษย์สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ในวันเพ็ญเดือน 3 ตรงกับวันมาฆบูชา เพื่อให้เพียงพอสำหรับพระภิกษุและสามเณรที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และในวันสำคัญในศาสนา ประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลในพระอุโบสถได้มากขึ้นด้วย แต่อุปสรรคสำคัญก็คือ การหาเงินปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งท่านต้องใช้งบจำนวนมาก ซึ่งท่านได้เตรียมพระสมเด็จปรกโพธิ์ซึ่งท่านได้ตั้งใจสร้างล่วงหน้าไว้ ณ ประเทศอินเดีย เพื่อมอบให้แก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์สร้างพระอุโบสถ จึงได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม  พ.ศ 2515 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปีเศษ เป็นพระอุโบสถที่หลังใหญ่ที่สุดในบรรดาวัดที่มีอยู่ในภูมิภาค เป็นปูชนียสถานที่มีการแกะสลักลวดลายประตูหน้าต่าง อย่างวิจิตรงดงามตระการตา เป็นที่กล่างขวัญ และชื่นชมของผู้พบเห็น

อีกทั้งยังสร้าง พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี หรือ หลวงพ่อใหญ่  พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองของชาวสิงห์บุรี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่งปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว ใช้งบก่อสร้างประมาณ 20 ล้านบาท

งานด้านการศึกษา ท่านได้ตั้งโรงเรียนพระปรยัติธรรม ทำการเปิดสอนแผนกธรรม และภาษาบาลีขึ้น ในวัดพิกุลทองตั้งแต่ปี พ.ศ 2475

นับตั้งแต่พระแพ เขมังกโร  ได้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ภายในวัด และสาธารณประโยชน์ทั่วไป พอสรุปได้ดังนี้ :

ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดได้แก่ พระอุโบสถ ,ศาลาการเปรียญ  ,หอสวดมนต์  ,หอประชุมกุฏิสงฆ์ ,หอไตร  ,หอฉัน  ,ศาลาวิปัสสนา  ,โรงฟังธรรม  ,ฌาปนสถาน  ,ศาลาเอนกประสงค์  และเขื่อนหน้าวัด เป็รต้น รวมทั้งดำเนินการก่อสร้างสาธารณประโยชน์ เพื่อเป็นการอนุเคราะห์แก่สาธุชน และประชาชนทั่วไป สรุปได้ดังนี้  :

1. เป็นประธานในการก่อสร้างโรงพยาบาล อ. ท่าช้าง

2. เป็นประธานในการก่อสร้างที่ว่าการ อ. ท่าช้าง

3. เป็นประธานในการก่อสร้างสถานีตำรวจ อ. ท่าช้าง

4.  เป็นประธานในการก่อสร้างสถานีอนามัย ต.พิกุลทอง

5. เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลวัดพิกุลทอง

6. เป็นประธานในการหาทุนสมทบในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ อ.อินทร์บุรี และสะพานข้ามแม่น้ำน้อย อ. ท่าช้าง

7. ดำเนินการก่อสร้างสาธารณประโยชน์ให้กับโรงพยาบาลสิงห์บุรี ดังนี้ :

– ปี พ.ศ 2528 ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ 80 ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 4ชั้น มูลค่า 11,100,000 บาท ( สิบเอ็ดล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน ) สามรถให้บริการผู้ป่วยได้ 89 เตียง ปัจจุบัน เป็นอาคารหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย – หญิง ,หอผู้ป่วยหู – ตา – คอ – จมูก และหอผู้ป่วยพิเศษ พร้อมทั้งจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้เป็นค่ายาและเวชภัณฑ์ สำหรับพระภิกษุสามเณรที่อาพาธไปโรงพยาบาลสิงห์บุรี  เป็นเงิน 200,000บาท ( สองแสนบาทถ้วน )

–  ปี พ.ศ 2532  ก่อสร้างอาคารเอ็กซเรย์ ( อาคารหลวงพ่อแพ 86 ปี ) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง2 ชั้น มูลค่า 7,000,000 ( เจ็ดล้านบาทถ้วน ) ก่อสร้างแล้วเสร็จ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ 2533  ปัจจุบัน เป็นอาคารกลุ่มงานรังสีวิทยา สำนักงานและห้องประชุม

– ปี พ.ศ 2534 ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ 90 ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง6 ชั้น มูลค่า 35,095,555 บาท ( สามสิบห้าล้าน เก้าหมื่นห้าพัน ห้าร้อย ห้าสิบห้าบาทถ้วน ) อาคารหลังนี้ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์  เมื่อวันที่ 1 มกราคม  พ.ศ 2534 เวลา 09.09 น. และเปิดให้บริการ เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ 2537  โดยชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 5 เป็นหอผู้ป่วยสามัญ ชั้นที่ 6 เป็นหอผู้ป่วยพิเศษ จำนวน 15 ห้อง และทางโรงพยาบาลสิงห์บุรี ได้ กราบทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารหลวงพ่อแพ 90 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ 2538

-ปี พ.ศ 2538 ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร 94 ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 9 ชั้น มูลค่า 120,000,000 บาท ( หนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาทถ้วน ) ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์  เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ 2538 อาคารหลังนี้มีพื้นที่ใช้สอย 11 ,230 ตารางเมตร โดยชั้นที่ 1 ถึง 2 เป็นแผนกบริการผู้ป่วยนอก ,ชั้นที่ 3-4 เป็นฝ่ายอำนวยการ ,ชั้นที่ 5-9 เป็นห้องผู้ป่วย จำนวน 60 ห้อง ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มให้บริการ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม  พ.ศ 2541

นอกจากด้านศาสนาแล้ว ท่านยังช่วยเหลือด้านการศึกษา และสาธารณสุขด้วย มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย โดยเฉพาะในส่วนของโรงพยาบาลสิงห์บุรี  ได้รับความอนุเคราะห์จากพระเดชพระคุณ หลวงพ่อแพ ดังจะเห็นได้จาก การก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ 80 ปี ,อาคารหลวงพ่อแพ 86 ปี ( อาคารเอ็กซเรย์ ) ,อาคารหลวงพ่อแพ 90 ปี ที่เด่นเป็นสง่าและดูสวยงามภายในโรงพยาบาลสิงห์บุรี และปัจจุบันกับอาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร 94 ปี ที่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีก็ด้วยเพราะบุญบารมีของ หลวงพ่อแพ ที่ท่านมอบแด่สาธุชนด้วยเมตตาธรรม อีกทั้ง หลวงพ่อ ยังได้พัฒนา และก่อสร้างศาสนสถานให้กับวัดอื่นๆ อย่างมากมาย

งานปกครองคณะสงฆ์

พ.ศ 2482 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะ ต. ถอนสมอ

พ.ศ 2483 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ และเป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง

พ.ศ 2484 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะ อ. ท่าช้าง

พ.ศ 2485 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะ จ. สิงห์บุรี

ลำดับสมณศักดิ์

พ.ศ 2484  ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ทำกิจปริยัติธรรมวินัย ในราชทินนามที่ พระครูศรีพรหมโสภิต

พ.ศ 2515 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม

พ.ศ 2521 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระสุนทรธรรมภาณี

พ.ศ 2530 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ 2530 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่  พระราชสิงหคณาจารย์

พ.ศ 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษ วันที่ 12  สิงหาคม พ.ศ 2535 ในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชีนีนาถ ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพสิงหบุราจารย์

พ.ศ 2539 ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ 2539 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ( พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ) ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมมุนี

หลวงพ่อแพ เป็นพระเถราจารย์ ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ มีเมตตาเป็นที่สุด มีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั่วประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง อาทิเช่น ประเทศฮ่องกง , สิงคโปร์ , ไต้หวัน , มาเลเซีย เป็นต้น วัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นทุกรุ่นของท่านนั้นปรากฏพุทธคุณสูงเยี่ยมในทุกๆด้าน ล้วนได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นที่เลื่องลือชื่ออย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีประสบการณ์มากมาย ทั้งแคล้วคลาด คุ้มครอง โชคลาภ ค้าขายร่ำรวย

ตลอดชีวิตของหลวงพ่อแพ ท่านได้บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างเอนกอนันต์ และได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือตกทุกข์ได้ยากตลอดมา ท่านเปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของประชาชนทั่วไป ได้แผ่บารมีช่วยเหลือกิจการต่างๆ ผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อชาวสิงห์บุรี และพุทธศาสนิกชนทั่วไป จนได้รับความเคารพยกย่องถึงกับมีการขนานนามท่านว่า ” เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย ”

การมรณภาพ

ในระยะหลัง หลวงพ่อ ได้งดกิจนิมนต์ โดยคำแนะนำจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากไม่สามารถพยุงตัวเองได้ รวมทั้งมีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน และโรคชรา จนเมื่อ วันที่ 24  สิงหาคม พ.ศ 2541 ทางคณะแพทย์ได้เห็นสมควรนำหลวงพ่อเข้าพักรักษาพยาบาล ที่ โรงพยาบาลสิงห์บุรี  เนื่องจากตรวจพบว่า หลวงพ่อ เป็นโรคตับอักเสบ ทางคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาจนอาการดีขึ้น

ต่อมาในวันที่ 2 กันยายน  พ.ศ 2541 ท่านอาการทรุดลง จนกระทั่งเวลา 01.30 น. ของวันที่  8 กันยายน  พ.ศ 2541 ท่านได้มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ไม่รู้สึกตัว และหัวใจหยุดเต้น ทางคณะแพทย์ได้ทำการช่วยจน หลวงพ่อ ฟื้นคืนชีพได้สำเร็จ และได้ถวายการดูแลรักษาจนอาการดีขึ้น จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์  พ.ศ 2542 หลวงพ่อท่านได้ละสังขารลงอย่างสงบ ณ ห้อง 901 ชั้น 9 อาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร 94 ปี โรงพยาบาลสิงห์บุรี จ. สิงห์บุรี สิริอายุรวม 94 พรรษา 73 ปัจจุบัน ทางวัดพิกุลทองยังคงประดิษฐานนสรีระของหลวงพ่อแพเอาไว้ เพื่อให้ศรัทธาญาติโยม แลพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้สักการบูชากราบไหว้ตลอดไป.

คำที่เกี่ยวข้อง
หลวงพ่อแพวัดพิกุลทองหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง 2535เหรียญหลวงพ่อคูณ ปี 2537เหรียญหลวงพ่อเกิด วัดสะพานเหรียญหลวงพ่อคูณ 2537เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ หลวงพ่อรวย เนื้อทองแดงเหรียญหลวงพ่อแพหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูงเหรียญหลวงพ่อทวดวัดช้างให้เหรียญทองแดงที่ระลึก

สินค้าใกล้เคียง