สาระน่ารู้
คุณสมบัติของแคลเซียมโบรอน
แคลเซียมกับโบรอน คือ โบรอน คือ ธาตุที่มีความสำคัญต่อพืชและผลไม้เป็นอย่างมาก ที่จะช่วยในการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ แคลเซียมก็มีส่วนช่วยทำให้พืชและผลไม้มีความแข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งก็คือ ตัวช่วยให้พืชนั้นมีความเจริญเติบโตแข็งแรงได้อย่างมีคุณภาพ
ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการดูแลรักษาพืชให้มีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ที่สุด โดยการนำเอาวัตถุใกล้ตัว อย่าง น้ำตาลทรายแดง หรืออ้อย พร้อมกับเศษพืชต่างๆ มาผสมรวมกันและตามด้วยน้ำหมัก ทิ้งไว้ก็จะได้น้ำหมักโบรอนที่มีคุณภาพไว้ใช้ในแปลงการเกษตรของตัวเอง ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
แคลเซียมโบรอน ก็คือ ตัวช่วยที่ทำให้พืชนั้นเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็มีการทำแคลเซียมโบรอนในรูปแบบต่างๆ ออกมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตัวธาตุอาหารเสริมสำหรับพืชแบบชนิดผงที่ใช้ในการผสมน้ำ รวมไปถึงการทำเป็นน้ำหมักชีวภาพโบรอนเพื่อใช้เองก็สามารถทำได้เช่นกัน
ทั้งนี้อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการใช้แคลเซียมโบรอน เนื่องจากว่าอาจจะมีต้นทุนที่สูงหน่อย และใช้ได้ไม่นานก็ต้องไปซื้อมาใช้ ทำให้เกษตรกรหลายๆ คนไม่สามารถที่จะนำเงินบางส่วนไปลงทุนกับตรงนี้ได้มากนัก จึงหันมาใช้วิธีพึ่งตนเองกันมากขึ้น ก็สามารถทำได้เช่นกัน ทั้งนี้แคลเซียมโบรอนถือเป็นธาตุอาหารชนิดหนึ่งที่มีกระบวนการในการช่วยให้พืช ผลไม้ ได้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุด
แคลเซียม+โบรอน มีประโยชน์กับไม้ผลอย่างไร
แคลเซียมโบรอน เป็นธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ทั้งหมดและพืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ประกอบด้วย แคลเซียม , โบรอน กรดอะมิโน 17 ชนิด และอื่นๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มการผสมเกสร ลดการหลุดร่วงของขั้วดอกและขั้วผล ขยายขนาดผล กระตุ้นการแตกตาดอก ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ทำให้พืชแข็งแรง ใบเขียว ป้องการอาการก้นดำในมะเขือเทศ ไส้ดำในกะหล่ำปลี ทำให้โครงสร้างพืชแข็งแรง ต้านทานโรคได้ดี
ธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ ที่พืชใช้ในปริมาณที่น้อยแต่พืชจะขาดธาตุอาหารเหล่านี้ไม่ได้เช่นกัน คือ เหล็ก , แมงกานีส , สังกะสี , ทองแดง , โบรอน , โมลิบดีนัม และคลอรีน ธาตุแคลเซียม เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ด พืชจะมีความจำเป็นต้องใช้มาก เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป ประกอบกับเป็นองค์ประกอบของสารที่เชื่อมผนังเซลล์ ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด และช่วยให้เอ็นไซม์ทำงานได้ดี อาการของพืชที่ขาดแคลเซียม จะพบมากในบริเวณยอดใบที่เจริญใหม่ๆ หงิกม้วนงอและขาดเป็นริ้วๆ ตายอด
ไม่เจริญ อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ยอดอ่อนจะแห้งตายทั้งนี้แก้ไขโดยการใส่ปูนขาว หินปูนบด หินปูนเผา เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน หรือการใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดิน หากขาดธาตุโบรอน ส่วนที่จะแสดงอาการเริ่มแรกคือ ส่วนยอดและใบอ่อน จะบิดงอ ใบอ่อนบางและโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหน้ากร้าน และตกกระ มีสารเหนียวๆ ออกมาตามเปลือกของลำต้น ตายอดตายแล้วมีตาข้าง แต่ตาข้างก็จะตายเหมือนกัน ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว กิ่งก้านใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหนาบางทีผลแตกเป็นแผลได้