ชื่อหิน : ศิวลึงก์ หรือ ศิวลิงค์คัม
คุณสมบัตเด่นของหิน : เป็นสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์
ขนาด : ความยาวประมาณ 3-3.5 เซนติเมตร
น้ำหนัก : ต่อชิ้นประมาณ 10-15 กรัม
แหล่งค้นพบ : แม่น้ำนาร์มาดา(Namada) เมืองมัทยาภราเดช (Madhya Pradesh) ประเทศอินเดีย
ชื่อหิน ศิวลึงก์ หรือ ศิวลิงค์คัม
ศิวะลึงคัม (Shiva Lingam) เป็นสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์
หินแห่งความเชื่อใรศาสนาฮินดู เป็นองค์แทนพระศิวะ พบในแม่น้ำนาร์มาดา(Namada) เมืองมัทยาภราเดช (Madhya Pradesh) ประเทศอินเดีย
ศาลิครัมเป็นก้อนหินธรรมชาติ ลวดลายสีน้ำตาลสลับเหลือง บ้างมีสีดำ ก็มีบางทีพราหมณ์บางคณะอาจเรียก หินศิวะลึงค์ “ชิวะลิงคัม” เป็นหินในแม่น้ำนาร์มาดา (Narmada) เมืองมัทยา ภราเดช (Madhya Pradesh) ประเทศอินเดีย ซึ่งจะนิยมที่มีจุดแดงตรงยอดจะถือว่าขลังเป็นพิเศษโดยเทียบกับการเจิมของพระศิวะ หินศักดิ์สิทธิ์นี้สัณฐานจะรีเหมือนรูปไข่ บ้างมีลายเหมือนต้นไม้ ถ้ายิ่งมีลายเป็นต้นไม้มากยิ่งนับถือกันมาก บ้างก็นิยมสีดำถือว่าหายากและเป็นมงคลมากมีพลังงานสูงในการป้องกัน
ตำนานของหินศาลิครัมสืบมาจากตำนานของไม้ตุลสิ กล่าวคือเมื่อนางตุลสิถูกพระลักษมีสาปเป็นต้นไม้ไปแล้ว พระนารายณ์ก็มีพระหฤทัยสงสารนางผู้ภักดียิ่งยวดต่อพระองค์ จึงแปลงพระรูปเป็นหินศาลิครัมมาอยู่ด้วยกับนางไม้ตุลสิเสมอไป หินศาลิครัมจึงนับเข้าในอวตารของพระนารายณ์
พราหมณ์ทุกคนต้องมีหินศาลิครัมไว้ประจำสกุล และถือเป็นทรัพย์มรดกชิ้นหนึ่งที่ต้องมอบให้แก่บุตรหลานต่อ ๆ ไป โดยไม่ให้ตกไปเป็นของผู้อื่นได้เลย คัมภีร์อาถรรพเวทกล่าวไว้ว่าเคหะพราหมณ์ผู้ใดปราศจากหินศาลิครัมแล้วเคหะผู้ นั้นย่อมโสโครกเหมือนป่าช้า และอาหารที่ประกอบขึ้นในเคหะนั้นก็สกปรกเหมือนรากหมาก
น้ำแช่หินศาลิครัมนับถือกันว่าเป็นน้ำมนต์ขลังที่สุด ใครได้รับประทานจะทำให้ความบาปหมดสิ้นไป ถึงซึ่งความสุขและประกอบแต่สิ่งที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมเสมอ เมื่อตายไปก็จะได้สวรรค์สมบัติเป็นบรมสุขแต่ทว่าก่อนดื่มน้ำมนต์นั้นตนจะ ต้องไม่ลืมออกวาจาสรรเสริญพระวิษณุว่า
“ข้าแต่พระนารายณ์ พระองค์เป็นผู้ครองโลก ความบันเทิงของพระองค์ ก็คืออวยพรให้แด่สรรพสัตว์ ข้าพระเจ้าขอดื่มน้ำล้างพระบาทพระองค์เพื่อให้ข้าพระเจ้าบริสุทธิ์ปราศจาก ความบาปทั้งปวง ขอพระองค์ได้โปรดยกโทษข้าพระเจ้าผู้บาปมหันต์ด้วยเถิด”
คนอินเดียนิยมปูชาศิวลึงค์มาก เพราะสามารถดลบันดาลให้ได้รับโชคลาภเงินทองคุ้มกันบ้านเรือนได้
—————————————————-