ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช
วิธีการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช
ระยะการใช้:
1. ใช้ช่วงแมลงระบาด
>>ฉีดพ่น 3 วัน/ครั้ง ติดต่อกัน 2 - 3 ครั้ง
2. ใช้เพื่อป้องกันการระบาดของแมลง
>>ฉีดพ่น 7 วัน/ครั้ง ติดต่อกัน
**เทคนิคการใช้ให้ได้ผลดี:
1. ควรฉีดพ่นให้สัมผัสกับตัวแมลง
2. ควรฉีดพ่นตอนเย็นเพื่อเลี่ยงแสงแดด ฉีดพ่นหลังรดน้ำ ความชื้นจะช่วยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
3. ควรใส่สารจับใบ เพื่อการกระจายตัวของเชื้อ และการยึดเกาะได้ดีขึ้น
4. ควรปรับหัวฉีดเป็นละอองฝอยเล็ก
5. ควรฉีดพ่น 3 วัน/ครั้ง ติดต่อกัน 2 - 3 ครั้ง ในช่วงที่แมลงเกิดการระบาด
6. สามารถใช้ร่วมกับอาหารเสริมพืช ยาฆ่าแมลงได้
7. ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดโรคพืช จะไปยับยั้งการทำงานของเชื้อ
(เว้นระยะห่าง 7 วัน)
8. ไม่ควรใช้ร่วมกับบีเอสพลัส และไบโอไตรโค จะไปยับยั้งการทำงานของเชื้อ
(เว้นระยะห่าง 10 วัน)
---------------
เชื้อราบิวเวอร์เรีย
เชื้อรามีคุณสมบัติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อแมลง สามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด โดยเชื้อราจะเจริญเติบโต แทงทะลุตัวแมลง โดยผลิตเอนไซม์ที่เป็นพิษและทำลายแมลงศัตรูพืช แมลงจะไม่ตายทันที (แต่จะตายภายใน 3-7 วัน)
ทำให้เป็นพาหะ นำเชื้อไปติดต่อกับแมลงตัวอื่นที่มาใกล้/สัมผัส เชื้อรายังอาศัยและกินเศษซากที่ผุพังของแมลงที่ตายแล้ว (สังเกตจะมีเส้นใยสีขาวปกคลุมซากแมลงที่ตาย) และสามารถแพร่เชื้อต่อไปได้อีก
ชนิดแมลงศัตรูพืช ที่ใช้บิวเวอร์เรียควบคุม:
- เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น
- เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
- แมลงหวี่ขาว ไรแดง
- ผีเสื้อ หนอนเจาะสมอฝ้าย
- หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้ใบข้าว
- แมลงปีกแข็งต่างๆ
วิธีใช้: การฉีดพ่น
1. เชื้อราบิวเวอร์เรีย 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร
2. สารจับใบ 1-2 ช้อนชา
3. ควรฉีดพ่น หลังให้น้ำ ประมาณ 1 ชั่วโมง ความชื้นจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเชื้อบิวเวอร์เรีย
4. พ่นให้ถูกตัวแมลง ศัตรูพืช หรือบริเวณที่แมลงศัตรูพืชอาศัย
5. ควรฉีดพ่นช่วงเวลาเย็น โดยมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการงอกและเจริญเติบโตของเชื้อราคือ ความชื้นสูง และแดดอ่อน
4. ให้น้ำกับแปลงพืช ในวันรุ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความชื้น
5. สำรวจแปลงพืช ถ้ายังพบศัตรูพืชเป้าหมาย ให้พ่นเชื้อราบิวเวอร์เรียซ้ำ
ข้อดี: ของการใช้บิวเวอร์เรียในควบคุมศัตรูพืช
- ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม
- เป็นปัจจัยหนึ่งของการควบคุมศัตรูพืชแบบผสมผสาน
- ไม่มีพิษตกค้าง ใช้ได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตของพืช
++++++++++
เมธาไรเซียม
เป็นกลุ่มเชื้อราจากธรรมชาติ ช่วยกำจัด ทำลายแมลงศัตรูพืช
ปลอยภัยต่อมนุษย์ สัตว์ ไส้เดือน ตัวห้ำ ตัวเบียน และสิ่งแวดล้อม
เชื้อราเมธาไรเซียม เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีสีเขียวหม่น พบทั่วไปในดิน มีชีวิตอยู่ในดินได้นาน ทำให้มีระยะการควบคุมแมลงศัตรูพืชได้นาน
คุณสมบัติที่ดีของเชื้อราเมธาไรเซียม
1. เพาะเลี้ยงได้ง่าย สามารถเลี้ยงได้บนเมล็ดธัญพืช
2. มีความคงทนในสภาพแวดล้อมสูง สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้ข้ามปี
3. คลุกผสมเชื้อสดลงในดิน หรือละลายเชื้อราผสมน้ำฉีดพ่น
4. แพร่กระจายได้ง่าย โดยปลิวไปกับลม หรือติดไปกับคน สัตว์ หรือแมลงต่างๆ
ชนิดแมลงศัตรูพืช ที่ใช้เมธาไรเซียมควบคุม:
- หนอนด้วง แมลงดำหนามมะพร้าว
- ด้วงแรด ด้วงกวาง ด้วงหนวดยาว
- แมลงค่อมทอง ด้วงหมัดผัก ตั๊กแตน
- หนอนเจาะต้น หนอนทราย หนอนกอ
- เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น
- แมลงหวี่ขาว ไรแดง
- ผีเสื้อ หนอนกระทู้ผัก กระทู้ใบข้าว
- ปลวก มด แมลงสาบ แมลงวัน
- มวน บั่ว ไร
อัตราการใช้:
1. การฉีดพ่น หรือราดรดทางดิน
+ อัตรา 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร
+ สารจับใบ 1-2 ช้อนชา
+ ฉีดพ่นเป็นละอองฝอยเล็ก ให้สัมผัสกับตัวแมลง
+ ฉีดพ่น ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น ทั้งต้น เน้นพื้นดิน
2. ทำเหยื่อหรือกองล่อ เพื่อกำจัดแมลงสาบ
เมธาไรเซียม 100 กรัม ผสมกับอาหารล่อแมลง 2-5 กิโลกรัม
3. ผสมกองปุ๋ยหมัก เพื่อกำจัดหนอนด้วง
เมธาไรเซียม 100 กรัม ต่อกองปุ๋ยหมัก 50-100 กิโลกรัม
++++++++++
บีที (เชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส)
เชื้อแบคทีเรียจากธรรมชาติ กำจัดหนอน แมลง ศัตรูพืช
**ควบคุม หนอน แมลง ศัตรูพืช ที่ดื้อต่อสารเคมีได้เป็นอย่างดี
**ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค สัตว์ ผึ้ง ตัวห้ำ ตัวเบียน และสิ่งแวดล้อม
ชนิดของหนอนศัตรูพืช ที่ใช้บีที ควบคุม:
+ หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ
+ หนอนชอนใบ หนอนกระทู้ผัก
+ หนอนผีเสื้อขาว หนอนกินใบผัก
+ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนบุ้ง
+ หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
+ หนอนคืบละหุ่ง หนอนเจาะดอกไม้
+ หนอนแปะใบส้ม หนอนกินใบชมพู่
+ หนอนร่าน หนอนแก้วส้ม
+ หนอนไหมป่า หนอนแปะใบองุ่น
+ หนอนแมลงหวี่ หนอนแมลงวัน
ข้อควรระวัง:
**ไม่ควรใช้เชื้อบีที ฉีดพ่นกำจัดหนอน ในแปลงหม่อนสำหรับเลี้ยงไหม
บีที (เชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส)
+ ใช้ได้กับ พืชผัก พืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ
+ ป้องกัน กำจัด ทำลายหนอน แมลง ศัตรูพืช
+ ปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ ผึ้ง ตัวห้ำ ตัวเบียน และสิ่งแวดล้อม
+ ไม่มีพิษตกค้าง จึงสามารถนำพืชมาบริโภคได้ทันที
+ มีประสิทธิภาพสูง เมื่อเทียบกับจุลินทรีย์ชนิดอื่น
+ สามารถใช้แทนสารเคมีกำจัดแมลง ศัตรูพืชได้
อัตราการใช้:
+ อัตรา 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร
+ สารจับใบ 1-2 ช้อนชา
+ ฉีดพ่นเป็นละอองฝอยเล็ก
+ ฉีดพ่น ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น ทั้งต้น และพื้นดิน
วิธีการใช้เพิ่มเติม:
1. ควรผสมน้ำ 1 ลิตร คนให้ละลาย ค่อยนำไปน้ำที่จะใช้ฉีดพ่น
2. ควรแช่ไว้ 2-3 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการทำงานของเชื้อ
3. ควรผสมสารจับใบ เพื่อช่วยให้เชื้อติดกับส่วนของพืชได้นานยิ่งขึ้น
4. ควรปรับหัวฉีดเป็นละอองฝอยเล็ก ฉีดพ่นทั่วทั้งต้น และควรฉีดพ่นในเวลาเย็น
5. ควรฉีดพ่น 3 วัน/ครั้ง ติดต่อกัน 2 - 3 ครั้ง ในช่วงที่แมลงเกิดการระบาด
++++++++++
ทรีพลัส
ประกอบด้วย จุลินทรีย์ 3 ชนิด:
1. Bacillus thuringiensis (บีที)
2. Beauveria bassiana (บิวเวอร์เรีย)
3. Metarhizium anisopliae (เมธาไรเซียม)
ชนิดของหนอนศัตรูพืช ที่ใช้ทรีพลัสควบคุม:
+ หนอนผีเสื้อ หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม
+ หนอนกระทู้ใบข้าว มวน เต่าทอง
+ หนอนเจาะดอกไม้ หนอนเจาะลำต้น หนอนเจาะสมอฝ้าย
+ หนอนแมลงหวี่ หนอนแมลงวัน เจาะทำลายก้อนเห็ด
+ ด้วงแรด ด้วงกวาง ด้วงหนวดยาว แมลงค่อมทอง
+ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว ไรแดง
+ ปลวก มด แมลงสาบ
วิธีใช้ทรีพลัส:
อัตราการใช้ : 50กรัม น้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทั่วต้นพืชและบริเวณพื้นดิน 7-10 วัน/ครั้ง
**กรณีระบาดหนัก ฉีดพ่น 3 วัน/ครั้ง
++++++++++
มีเอกสารการขยายเชื้อแต่ละชนิด:
👉 ทางร้านได้แนบเอกสาร
วิธีการขยายเชื้อแต่ละชนิด ไปด้วยในกล่องผลิตภัณฑ์ ให้กับลูกค้าทุกกล่องคะ😍🤩
🙏🙏 ลูกค้าต้องการสอบถามเพิ่มเติม:
สามารถติดต่อกับทางร้านได้ตลอด ยินดีให้บริการลูกค้าทุกท่านค่ะ