ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัคร การสอบคัดเลือก และการสอบความรู้ ฯ
ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม-ว่าด้วยการสมัคร-การสอบคัดเลือก-และการสอบความรู้-ฯ
ข้อมูลสินค้า
ราคา
150.00 130.00 บาท
แบรนด์
สูตรไพศาล
ร้านค้า

สารบัญ

 

๑.  แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๑

       ประกาศสำนักงานกิจการยุติธรรม

       เรื่อง   แผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

       บทสรุปผู้บริหาร

       บทที่  ๑  ทบทวนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

       บทที่  ๒  สถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรม 

      บทที่  ๓  มุมมอง  ข้อคิดเห็นและความต้องการของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานยุติธรรม

       บทที่  ๔  เป้าประสงค์ของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

       บทที่  ๕  โครงการหลักที่สำคัญซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายและยุทธศาสตร์

                   ของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

 

       ภาคผนวก  ของ  ๑.

-    แผนภูมิเชื่อมโยงวิสัยทัศน์  เป้าหมาย  ตัวชี้วัด  ยุทธศาสตร์ 

      และโครงการสำคัญตามแผนแม่บทฯ

-   คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

-   คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการบริหารงานยุติธรรมฯ

-   คณะทำงานสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทฯ

 

๒.  ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม

ว่าด้วยการสมัคร  การสอบคัดเลือก  และการสอบความรู้

เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา  พ.ศ. ๒๕๕๘

หมวด  ๑  บททั่วไป

หมวด  ๒  การสอบคัดเลือกของผู้สมัคร

หมวด  ๓  การทดสอบความรู้

              ส่วนที่  ๑  คุณวุฒิและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ

              ส่วนที่  ๒  เงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย

              ส่วนที่  ๓  การทดสอบความรู้ฯ ตามมาตรา ๒๘ (๒) (ก) - (ช)

              ส่วนที่  ๔  การทดสอบความรู้ฯ ตามมาตรา ๒๘ (๒) (ก) - (ข)

หมวด  ๔  ระเบียบการสอบข้อเขียน  หลักเกณฑ์การตรวจ  สอบปากเปล่า

              เกณฑ์ในการบรรจุ  และอัตราส่วนในการบรรจุ

 

-   กฎหมายพิเศษ  ได้แก่กฎหมายใด  อะไรบ้าง ?  

-   หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนน

-    แบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่า

-    แบบหนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพ  ๕  แบบ

 

๓.  การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม  ?ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ?

รายงานคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมฯ

เรื่อง  การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม  (วาระการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ)

๑. หลักการและเหตุผล

๒. ประเด็นการศึกษา

๓. วิธีการดำเนินการ

๔. สรุปผลการพิจารณาศึกษา

       ส่วนที่ ๑  การปฏิรูปกฎหมาย

              ๑. การปฏิรูปการจัดทำกฎหมาย การปรับปรุงและยกร่างกฎหมาย

              ๒. การปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมาย

              ๓. การปฏิรูปบทบัญญัติของกฎหมาย

                      ๓.๑ รัฐธรรมนูญ

                      ๓.๒ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

                      ๓.๓ พระราชบัญญัติ

                      ๓.๔ อื่น ๆ (พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบและคำสั่งต่างๆ)

       ส่วนที่ ๒  การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

๕. ข้อเสนอแนะประเด็นการปฏิรูปและแนวทางการดำเนินการที่นำเสนอต่อ

   สภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณา

 

       สื่อกฎหมายที่เป็นปัจจุบัน

       -  จำแนกสื่อกฎหมาย

              (1) จะเป็นกฎหมาย

              (2) เป็นกฎหมาย

              (3) พ้นเป็นกฎหมาย

 

       เชิญบอกรับ  ใบรายงานและใบแทรกกฎหมาย  1  ปี

 

คำนำ

 

          หลักการสำคัญของแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ   คือ  นำสภาพความเป็นจริง  ความ

 

ต้องการของประชาชนเป็นตัวตั้ง และหลักการสากลนำมาเป็นหลักสำคัญในการกำหนด  โดยมีเป้าหมาย  ๔  

 

ประการ  คือ

          ๑. การบริการประชาชนจะต้องมีความสะดวกรวดเร็ว มีค่าใช้จ่ายเหมาะสม 

          ๒. ให้ประชาชนเข้าถึงการบริการในด้านความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน 

          ๓. การบังคับใช้กฎหมายต้องมีความเสมอภาค และเป็นธรรม  และ

          ๔. ปริมาณคดีที่จะเข้าสู่ศาลจะต้องลดลง  โดยจำแนกออกเป็น  ๕  ยุทธศาสตร์

 

          โดยสรุปยุทธศาสตร์ทั้ง  ๕  ออกเป็นดังนี้

 

          ๑. ระบบการบริการประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมนั้นไม่ทันสมัย มีขั้นตอนมาก และมีหน่วยงานไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ จึงเกิดความล่าช้า จึงจะนำเทคโนโลยีสารสนเทศและหลักนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ มีการจัดตั้งศาลยุติธรรม ศาลปกครองเพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมทุกพื้นที่  

 

          ๒. การบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ซึ่งในประเทศไทยการบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ เกิดการละเลยในการบังคับใช้ มีสาเหตุโดยประชาชนไม่รับรู้กฎหมายหรือรับรู้แล้วแต่ฝ่าฝืน รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายนั้นใช้ดุลพินิจไม่เหมาะสม แนวทางในการแก้ไขจึงต้องปลูกฝังสำนึกความรับผิดชอบ ความเคารพกฎหมายแก่ประชาชนและผู้บังคับใช้กฎหมาย

 

          ๓. กระบวนการยุติธรรมทางเลือกและการมีส่วนร่วมในงานยุติธรรม  ซึ่งปริมาณคดีที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมีจำนวนมาก และแนวโน้มเมื่อเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว ข้อพิพาทต่างๆ จะมีจำนวนมากขึ้น จึงต้องกระบวนการทางเลือกมาเพิ่มเติม นั่นคือการไกล่เกลี่ย การประนีประนอมในทุกขั้นตอนและเปิดโอกาสให้องค์กรส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ด้วย

 

          ๔. การสร้างองค์ความรู้ในงานยุติธรรม  โดยบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมมีจำนวนไม่เพียงพอ ขาดองค์ความรู้ จึงต้องคัดเลือกบุคลากรอย่างมีระบบมากกว่านี้ มีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ใช้ดุลพินิจได้อย่างเหมาะสม  และ
          ๕. การขับเคลื่อนและบูรณาการบริหารงานยุติธรรม  โดยที่ผ่านมาแต่ละองค์กรทำยุทธศาสตร์แยกกัน ไม่คิดถึงแผนแม่บท จึงต้องทำให้ทุกหน่วยงานรับทราบถึงแผนแม่บทอย่างแท้จริง ว่าเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง  เพื่อทำยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกัน

          ทั้งนี้  ผู้รวบรวมได้นำข้อมูลที่สำคัญมารวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วย  ได้แก่  ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการสมัคร  การสอบคัดเลือก  และการสอบความรู้  เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา  พ.ศ. ๒๕๕๘  หลักเกณฑ์การตรวจและการให้คะแนน  แบบการให้คะแนนการสอบปากเปล่า  แบบหนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพ  และรายงานการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ?ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ? ดังสารบัญ

 

          หวังเป็นอย่างยิ่งว่า  หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านทุกท่าน

คำที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในว่าด้วยการสืบพยานการสอบบัญชีเครื่องรางการสอบอุปกรณ์การสอบคู่มือสอบนิติกร สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า otccความเรียงที่สองว่าด้วยการปกครองมาตรฐานการสอบบัญชีหนังสือการสอบบัญชีเสริมดวงการสอบ

สินค้าใกล้เคียง