พระกรุวัดราชนัดดา พิมพ์ปางเปิดโลก รางวัลที่3งานศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะล่าสุด สภาพสวย
พระกรุวัดราชนัดดา พิมพ์ปางเปิดโลก รางวัลที่3งานศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะล่าสุด
ตามประวัติการขุดพบพระเนื้อดิน กรุวัดราชนัดดา เล่าว่า เมื่อพ.ศ.2514รถบรรทุกขนวัสดุในการก่อสร้างโลหะปราสาทได้ชนพระเจดีย์องค์หนึ่งภายในวัดราชนัดดาพระเจดีย์องค์นี้สูงประมาณ 3 วา อยู่นอกเขตพุทธาวาสทางด้านทิศใต้คืออยู่ข้างทางเดินเข้าวัดทางด้านถนนมหาชัยและอยู่กึ่งกลางระหว่างพระฉายกับหอระฆัง พระเจดีย์เมื่อถูกรถชนได้พังทลายลงมาชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงได้เข้าไปคุ้ยตามซากพระเจดีย์ก็พบพระเครื่องเข้าจำนวนหนึ่งเมื่อข่าวนี้แพร่ออกไปก็มีชาวบ้านมาคุ้ยหาพระเครื่องกันเรื่อย ๆโดยตอนแรกทางวัดยังไม่ทราบเรื่องพระแตกกรุจากองค์พระเจดีย์แต่ต่อมาชาวบ้านที่ไปขุดคุ้ยหาพระเครื่องได้นำพระที่ได้มาออกไปขายจนเป็นข่าวกระจายออกไปเมื่อทางวัดทราบข่าวเจ้าอาวาสจึงให้พระลูกวัดไปทำการสำรวจและทำการขุดเอาพระที่เหลือมาเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของทางวัดต่อไปตอนที่จะทำการขุดรื้อพระเจดีย์เพื่อเอาพระขึ้นมาเก็บรักษาขณะนั้นเป็นเวลาตอนเย็น แต่เมื่อขุดลงไปจนถึงบริเวณที่เป็นกรุพระแล้วก็ไม่อาจเอาพระขึ้นมาจากกรุได้เนื่องจากขณะนั้นได้มีชาวบ้านที่ทราบข่าวว่ามีการขุดกรุได้พากันมามุงดูกันเป็นจำนวนมากและพยายามจะเฮโลเข้าแย่งพระกันทางวัดจึงได้ขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจสำราญราษฏร์มาทำการรักษาความสงบจำนวนสองนายแต่ก็ยังไม่อาจจะเอาพระขึ้นมาได้อยู่ดีเพราะชาวบ้านที่มามุงดูมีจำนวนมากเกินไปจึงได้แต่รักษาความสงบอยู่อย่างนั้นมาตลอด ครั้งพอถึงเวลา 03.00น.ชาวบ้านที่มามุงดูได้กลับไปแล้วเหลืออยู่เพียงไม่กี่คนทางวัดจึงได้ทำการขุดเอาพระขึ้นมาและทำการขุดเสร็จสิ้นเอาเมื่อเวลา 10.30น.ของวันต่อมาพระเครื่องที่ขุดขึ้นมาทั้งหมดประมาณ 2กระสอบใหญ่ประมาณแล้วก็ได้เป็นหมื่นๆองค์โดยเป็นพระเนื้อดินเผาทั้งหมดแบ่งเป็นพิมพ์แล้วได้มากกว่า 10 พิมพ์ เช่น พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์พิมพ์สมาธิห้าเหลี่ยมปรกโพธิ์ พิมพ์ยืนประทานพร พิมพ์ยืนรำพึงพิมพ์ฐานผ้าทิพย์ พิมพ์ป่าเลไลยก์ พิมพ์อัครสาวก พิมพ์ปิดทวารพิมพ์ช้างป่าเลไลยก์ชูกระบอกน้ำ ฯลฯพระกรุวัดราชนัดดาเป็นพระเนื้อดินเผา มีหลายโซนสีและลักษณะที่พบบ่อยจะเป็นเนื้อออกสีน้ำตาลอ่อนมักจะปรากฏรารักสีดำประปรายตามผิว (ไม่ปรากฏก็มี อยู่ที่องค์พระนั้น ๆ)เนื้อไม่แน่นตัวและหนึกนุ่มเหมือนพระกรุเมืองกำแพงเพชรเรื่องประวัติว่าใครเป็นผู้สร้างไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดแต่ดูจากศิลปะและอายุความเก่าพระกรุวัดราชนัดดาน่าจะสร้างอยู่ในราวสมัยรัชการลที่5-6 อายุคงราวๆ 100 กว่าปีโดยประมาณค่านิยมเช่าหาสำหรับพระกรุนี้ก็ยังถือว่าไม่สูงมากนักมีมากมายหลายพิมพ์ให้เลือกเก็บสะสม เป็นของดีอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเนื่องจากเป็นพระดี ชัดเจนเรื่องที่มาที่ไปและมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง