a80 จี้พระประจำวันเกิดปางพระพุทธรูปประจำวันเกิด ของคนทั้ง 7 วัน ขนาดเล็ก กรอบทองตอกลาย พร้อมกล่อง
a80-จี้พระประจำวันเกิดปางพระพุทธรูปประจำวันเกิด-ของคนทั้ง-7-วัน-ขนาดเล็ก-กรอบทองตอกลาย-พร้อมกล่อง

ปางพระพุทธรูปประจำวันเกิด ของคนทั้ง 7 วัน

พระประจำวันอาทิตย์ ได้แก่ ปางถวายเนตร

โดยปางถวายเนตร จะมีลักษณะที่อยู่ในอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้ง 2 ข้าง พระหัตถ์ประสานไว้อยู่หน้าตัก พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมอยู่บนพระหัตถซ้าย มาจากเมื่อครั้งพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข หรือก็คือความสุขอันเกิดจากความสงบ อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นได้เสด็จไปประทับยืน ณ กลางแจ้งทางทิศอีสานของต้นศรีมหาโพธิ์ โดยสถานที่ยินประทับนี้เรียกว่า "อนิมิสเจดีย์" และได้ และทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์ดังกล่าวโดยไม่กระพริบพระเนตรเลยเป็นเวลา 7 วัน

พระประจำวันจันทร์ ได้แก่ ปางห้ามญาติ หรือปางห้ามสมุทร

โดยจะมีลักษณะแตกต่างกันอยู่คือ ปางห้ามญาติ จะยกยกพระหัตถ์ข้างขวาข้างเดียว ขณะที่ปางห้ามสมุทรจะยกพระหัตถ์ขึ้นทั้ง 2 ข้าง แต่ทั้ง 2 ปางนั้นจะอยู่ในอิริยาบถยืน และพระหัตถ์ที่ยกขึ้นจะอยู่เสมออก ซึ่งปางห้ามญาตินั้น มาจากเมื่องครั้งพระญาติฝ่ายพุทธบิดา กรุงกบิลพัสดุ์ และพระญาติฝ่ายพุทธมารดา กรุงเทวทหะ ได้ทะเลาะกันเรื่องการแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณี เพื่อจะนำน้ำไปทำการเพาะปลูก เมื่อตกลงกันไม่ได้จึงเตรียมที่จะเปิดศึกกัน จนพระพุทธองค์ได้ไปเจรจาห้ามทัพเพราะไม่อยากให้ญาติต่อสู้กันเอง

ส่วนปางห้ามสมุทร มาจากเมื่อครั้งพระพุทธองค์ ได้เสด็จไปโปรดพวกชฎิล (นักบวชประเภทหนึ่ง เกล้าผมมุ่นเป็นมวยสูงขึ้น มักถือลัทธิบูชาไฟ) 3 พี่น้อง ได้แก่ อุรุเวลกัสสปะ, นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ เพราะ 3 พี่น้องนั้นตั้งตนเป็นใหญ่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา โดยมีบริวารอีก 1,000 คน ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงพุทธปาฏิหารย์เพื่อทำลายทิฐิมานะของชฎิลทั้งหลาย ทั้งการห้ามฝน ห้ามลม ห้ามพายุ และห้ามน้ำไม่ให้ท่วมบริเวณที่ประทับ เมื่อพวกชฎิลเห็นดังนั้น ก็รู้สึกเกิดความอัศจรรย์เป็นอย่างมาก จึงยอมบวชเป็นพุทธสาวก

พระประจำวันอังคาร ได้แก่ ปางไสยาสน์

โดยจะมีลักษณะบรรทมตะแคงขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนหมอน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย ส่วนพระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ข้างหมอน ซึ่งความเป็นมาจะมี 2 นัยยะ คือ เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ารับสั่งให้พระจุนทะเถระ ปูอาสนะระหว่างต้นรังคู่หนึ่ง แล้วทรงประทับ บรรทมแบบสีหไสยาสน์ ตั้งพระทัยว่าจะไม่ลุกอีก ซึ่งการสร้างปางนี้ จึงเสมือนเป็นการรำลึกถึงการเสด็จดับขันธปรินิพพาน

พระประจำวันพุธ ได้แก่ ปางอุ้มบาตร

พระประจำวันพฤหัสบดี ได้แก่ ปางสมาธิ

พระประจำวันศุกร์ ได้แก่ ปางรำพึง

พระประจำวันเสาร์ ได้แก่ ปางนาคปรก

คำที่เกี่ยวข้อง
พระพุทธรูปประจำวันเกิดจี้พระประจำวันเกิดจี้ทองพระประจำวันเกิดสร้อยพร้อมจี้พระประจำวันเกิดจี้พระประจำวันเกิดไม่ลอกจี้ พระ ประจำวันเกิด ทองคำ แท้จี้พระประจำวันเกิดเงินแท้จี้เงินพระประจำวันเกิดพระประจำวันเกิดพระประจำวันเกิดองค์เล็ก

สินค้าใกล้เคียง