WESCO ปุ๋ย 0-0-50 S ปุ๋ยเกล็ด เวสโก้ เพิ่มความหวาน สีเข้มได้น้ำหนัก บรรจุ 3 กิโลกรัม
ใช้สำหรับ เพิ่มความหวาน ทำให้สีเข้ม ได้น้ำหนัก โดยการละลายน้ำเพื่อฉีดพ่นใบพืชโดยตรง ซึ่งพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารผ่านทางใบและสามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือละลายน้ำรดหรือละลายให้ทางระบบน้ำหยด
ประกอบด้วย ปริมาณธาตุอาหารรับรอง
ไนโตรเจนทั้งหมด (N) 0%
ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ (P2O5) 0%
โฟแทชที่ละลายน้ำ (K2O) 50%
ปริมาณธาตุอาหารรอง
กำมะถัน 18%
อัตราที่ใช้ วิธีใช้และระยะเวลาที่ใช้
ไม้ยืนต้น ไม้ผล เช่นทุเรียน เงาะ ส้ม มะม่วง มังคุด องุ่น ลางสาด ลองกอง และอื่นๆ ใช้ในอัตราต้นละ 300-600 กรัม โดยใส่ตามแนวรัศมีพุ่มใบหลังจากติดลูกแล้วประมาณ 20-30 วัน ทั้งนี้แล้วแต่อายุของไม้ผลแต่ละชนิด
พืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด แห้วจีน ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฝ้าย อ้อย ใช้เป็นปุ๋ยแต่งหน้าในระยะที่พืชกำลังสร้างผลผลิต โดยใส่ตามแนวทั้งสองข้างของแถวพืช ให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 6-8 นิ้ว สำหรับอ้อยใช้ในอัตราไร่ละ 25-30 กก. เมื่อต้นอ้ยอายุประมาณ 4 เดือนหรือกำลังย่างปล้อง โดยหยอดเป็นแถวทั้งสองข้างของสองแถวต้นอ้อย หรือหว่านเข้าบริเวณโคนต้นอ้อย
ใช้ปุ๋ยเคมีเป็นวัตถุดิบ คือผสมกับปุ๋ยเคมีสูตรอื่นๆ เช่น 21-0-0,46-0-0,0-20-0,0-46-0 เพื่อผสมเป็นปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ตามต้องการ ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องปุ๋ยเคมีและดินเป็นอย่างดี และต้องทราบว่าในดินมีปริมาณธาตุอาหารพืชอื่นเพียงพอกับความต้องการของพืชนั้นๆแล้ว
ธาตุไนโตรเจน : หน้าที่และความสำคัญต่อต้นพืช ช่วยทำให้พืชตัวตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต ช่วยเสริมใบและลำต้นให้มีสีเขียวเข้ม และช่วยเพิ่มปริมาณโปรตีนให้แก่พืชที่ใช้เป็นพืชอาหาร เช่น ข้าวหรือหญ้าเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องควบคุมการออกดอกออกผลของพืช ช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะพืชที่ให้ผลและเมล็ด
อาการของพืชที่ขาดธาตุไนโตรเจน
1. ใบมีสีเขียวจางแล้วเหลือง โดยเฉพาะใบแก่ที่อยู่ตอนล่างของพืช ใบจะเหลืองผิดปกติจากใบล่างไปสู่ยอด
2. ลำต้นจะผอม กิ่งก้านลีบเล็ก และมีใบน้อย
3. พืชบางชนิดอาจจะมีลำต้นสีเหลือง หรืออาจจะมีสีชมพูเจือปนด้วย
4. ใบพืชที่มีสีเหลือง ปลายใบและขอบใบจะค่อย ๆ แห้งและลุกลามเข้ามาเรื่อย ๆ จนใบร่วงจากลำต้นก่อนกำหนด
5. พืชจะไม่เติบโต หรือโตช้ามาก ผลรากหรือส่วนที่สะสมอาหารมีขนาดลดลง
ธาตุฟอสฟอรัส หน้าที่และความสำคัญต่อต้นพืช
1. ช่วยให้ราดดึงดูดโปแตสเซียมเข้ามาใช้เป็นประโยช์ได้มากขึ้น
2. ช่วยแก้ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป
3. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากฝอยและรากแขนงในระยะแรกของการเจริญเติบโต
4. ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว ช่วนในการออกดอก และสร้างเมล็ดของพืช
5. เพิ่มความต้านทานต่อโรคบางชนิด ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี
6. ทำให้ลำต้นของพืชจำพวกข้างแข็งขึ้นไม่ล้มง่าย
อาการของพืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส
1. พืชจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน พืชบางชนิดอาจจะมีลำต้นบิดเป็นเกลียว เนื้อไม้จะแข็ง แต่เปราะและหักง่าย
2. รากจะเจริญเติบโตและแพร่กระจายลงในดินช้างกว่าที่ควร ดอกและผลที่ออกมาไม่สมบูรณ์ หรือบางครั้งอาจหลุดร่วงไป หรืออาจมีขนาดเล็ก หรือค่อนข้างจะสุกหรือแก่ช้ากว่าปกติ
3. พืชจำพวกลำต้นอวบน้ำหรือลำต้นอ่อน ๆ จะล้มง่าย
4. ใบแก่จะเปลี่ยนสีหรือพืชบางชนิดใบจะเป็นสีม่วง ใบมีลักษณะสีม่วงแดงบนแผ่นใบ เส้นใบ และลำต้นจะเห็นเด่นชัด ทางด้านใต้ใบสำหรับฝั่งใบจะมีสีทึบเข้ม อาการจะเกิดขึ้นกับใบล่าง ๆ ของต้นขึ้นไปหายอด
ธาตุโปแตสเซียม หน้าที่และความสำคัญต่อต้นพืช
1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทำให้รากดูดน้ำได้ดีขึ้น
2. มีความจำเป็นต่อการสร้างเนื้อของผลไม้ให้มีคุณภาพดี
3. ทำให้พืชมีคามต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ
4. ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ
5. ช่วยป้องกันผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับพืช เนื่องจากการได้รับไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมากเกินไป
6. ช่วยเพิ่มคุณภาพของพืชผักและผลไม้ โดยทำให้พืชมีสีสัน ขนาด ความหวาน และคงทนต่อสภาวะแวดล้อมได้
อาการของพืชที่ขาดธาตุโปแตสเซียม
1. ขอบใบเหลือง และกลายเป็นสีน้ำตาล โดยเริ่มต้นจากปลายใบเข้าส่งกลางใบ ส่วนที่เป็นสีน้ำตาลจะแห้งเหี่ยวไป จะเกิดจากใบล่างก่อน แล้วจึงค่อย ๆ ลามขึ้นข้างบน พืชที่เห็นชัดคือข้าวโพด
2. ทำให้ผลผลิตตกต่ำ พืชจำพวกธัญพืชจะทำให้เมล็ดลีบ มีน้ำหนักเบา พืชหัวจะมีแป้งน้อยและน้ำมาก ข้าวโพดจะมีเมล็ดไม่เต็มฝัก ฝักจะเล็กมีรูปร่างผิดปกติ ใบยาสูบมีคุณภาพต่ำ ติดไฟยาก กลิ่นไม่ดี พืชจำพวกฝ้ายใบจะมีสำน้ำตาลปนแดง สมอฝ้ายที่เกิดขึ้นจะไม่อ้าเต็มที่เมื่อแก่ ถ้าเป็นมะเขือเทศเนื้อจะเละ