พระบูชาสามขากำแพง หน้าตัก 9 นิ้ว
พระบูชาสามขากำแพง-หน้าตัก-9-นิ้ว
ข้อมูลสินค้า
ราคา
9,500.00 บาท
แบรนด์
No Brand
ร้านค้า
  • “พระพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพ หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ปรินิพพานไปแล้ว จึงมีผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้สร้างเพื่อรำลึกถึง หรือเป็นสัญญาลักษณ์ขององค์พระศาสดา เพื่อที่จะบอกเล่า เรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เป็นต้นปฐมของศานาพุทธที่ทรงค้นหาทางดับทุกข์ และนำพระธรรมมาสั่งสอนให้แก่มวลมนุษย์ ล่วงมาถึงในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาพระพุทธรูป หรือ รูปเคารพแทนพระพุทธเจ้า เริ่มมีการสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.500 ได้มีการสร้างสถาปัตยกรรมและประติมากรรมทางพุทธศาสนามากมายในแค้วนคันธาราฐ ซึ่งมีการสร้างพระพุทธรูปในลักษณะต่างๆ ตามพุทธประวัติ การสร้างพระพุทธรูปเข้ามาสู่ประเทศสยามในราวพุทธที่ 11 โดยถือคตินิยมถือปฏิบัติตามอินเดียโบราณ” พระพุทธรูปได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปอมราวดีผสมคุปตะ และปาละของอินเดีย ซึ่งเป็นช่วงในสมัย ทวาราวดี เมื่อทวาราวดีได้ล้มสลาย จึงเกิดอาณาจักรศรีวิชัย ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 ที่มีความเจริญรุ่งเรืองในหมู่เกาะชวา และแหลมมาลายู และดินแดนบางส่วนของสยามทางภาคใต้ เป็นศิลปะแบบคุปตะ ซึ่งเป็นพระที่มีความงดงาม พระวรกายอวบ ได้สัดส่วน ต่อมาก็เข้าสู่สกุลช่างลพบุรี ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 มีศูนย์กลางอยู่ที่เขมร ต่อมาสกุลช่างเชียงแสน เป็นศิลปะช่างทางภาคเหนือ มีเมืองเชียงแสนเป็นเมืองสำคัญ อาณาจักรล้านนาไทย ที่กล่าวว่ามีพระพุทธรูปมีความงดงามน่าเกรงขาม พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ลุถึงสมัยช่างสุโขทัย พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เป็นพระที่มีความงดงาม นิยมหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ และที่สลักเป็นก็มี ซึ่งในขณะนั้น พ่อขุนบางกลางท่าว เป็นบรมปฐมกษัตริย์ของเมืองสุโขทัย นิยมสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ พระพุทธรูปปางลีลาสุโขทัย ได้รับการยกย่องส่าเป็น สุดยอดพระพุทธประติมากรรมที่งดงามมาก บ่งบอกถึงความประณีตทางจิตใจ ได้รับยกย่องว่าเป็น ยุคทองของศิลปกรรมไทยสมัยอาณาจักรสุโขทัยเรืองอำนาจ มีเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่าน มีความสำคัญในด้านการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี เมืองกำแพงเพชรเป้แหล่งที่มีการสร้างพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอาราม และยังมีการสร้างพระบูชาที่มีเอกลักษณ์เรียกว่า“พระสุโขทัย” เป็นพระที่มีความงามและแปลกกว่าพระในสมัยเดียวกัน คือ พระกำแพง 3 ขา ได้สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยยุคกลาง คือสร้างเหมือนกับยุต้น แต่มีการแก้พระพักตร์ เป็นรูปไข่ พระเกศ เป็นเปลวอุณาโลม ให้ยาวขึ้น ฐานเขียงก็เพิ่มเป็น 3 ขา คือแต่เดิมฐานพระนั้น มีลักษณะเป็นฐานทึบไม่มีขายื่นออกมา พระศกบางองค์ ทำขมวดก้นหอยแหบลมคล้ายหนามขนุน
  • พระกำแพง 3 ขา เป็นพระพุทธรูปเมืองสุโขทัย ตรงในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระแท่นที่เต็มรูปแบบปกติถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงาม และต่อมาพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ส่งพระโอรส มีพระนามว่า “พระเจ้าลิไท” ไปปกครองกำแพงเพชร พระอง๕ทรงมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระองค์จึงได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ โดยให้มีความแตกต่างจากศิลปะสุโขทัย กล่าวได้ว่าไม่แพ้พระสมัยสุโขทัย คือมี พุทธลักษณะการทำฐานให้แตกต่างออกไปจากของเดิม คือเป็นแบบขาโต๊ะ หรือเรียกตามชื่อจังหวัดกำแพงเพชร “พระกำแพง 3 ขา” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย และปางสมาธิขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีอยู่ตามกรุวัดเสด็จ มีประวัติความเป็นมาไม่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างเนื่องจากหลักฐานไม่สามารถยืนยันได้ เป็นวัดที่ประชาชนที่อาศัยทำมาหากินอยู่ในเมืองกำแพงเพชรได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งและทำมาหากิน จึงได้รวมตัวกันและสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางของศาสนาและชาวเข้ามาประชุม แต่เดิมชื่อว่า “วัดราชพฤกษ์” ตามกาลเวลาวัดจึงเกิดการชำรุดทรุดโทรมจึงได้มีการลงมติที่จะทำนุบำรุงและก่อสร้างขึ้นใหม่ จึงได้ทำการรื้อถอนวิหาร เมื่อรื้อก็ได้เห็นว่ามีพระพุทธรูปองค์ประทานประดิษฐานจึงได้ยกพระออกจากฐานเดิมก็พบ พระพุทธรูปเก่าแก่ ที่กล่าวไว้ข้างต้น บางองค์ก็มีความสมบูรณ์ บางองค์เกิดชำรุด จึงได้รวบรวมพระที่ชำรุดดังกล่าวนำไปหลอมใหม่นำมาสร้างเป็นพระกำแพงสามขาย้อนยุค เพื่อนำรายได้สร้างวิหารใหม่ และอาคารอเนกประสงค์ พระที่มีความสมบูรณ์จำนวนหนึ่งก็ได้เก็บไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันเจริญเมื่อครั้งที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
คำที่เกี่ยวข้อง
พระหน้าตัก 9นิ้วพระหน้าตัก 9 นิ้วพระปรางสะดุ้งมาร หน้าตัก 9 นิ้วพระพุทธรูปหน้าตัก 9 นิ้วพระบูชาหน้าตัก 3 นิ้วหน้าตัก 9 นิ้วพระหน้าตัก 5 นิ้วพระหน้าตัก3นิ้วพระหน้าตัก 12 นิ้วพระหน้าตัก 7 นิ้ว

สินค้าใกล้เคียง