ผึ้งชันโรง ในรังไม้สักทอง รังสวยงาม มีตัวผึ้งชันโรงแล้ว จำนวน 1 รัง
ผึ้งชันโรง-ในรังไม้สักทอง-รังสวยงาม-มีตัวผึ้งชันโรงแล้ว-จำนวน-1-รัง
ข้อมูลสินค้า
ราคา
2,500.00 บาท
รีวิว
1 ครั้ง
แบรนด์
No Brand
ร้านค้า

ผึ้งชันโรง ในรังไม้สักทอง รังสวยงาม มีตัวผึ้งชันโรงแล้ว จำนวน 1 รัง
สำหรับผสมเกสรดอกไม้

คู่มือการเลี้ยงชันโรง (ผึ้งน้อย)
ลักษณะและนิสัยของชันโรง
ชันโรงหรือผึ้งน้อยเป็นแมลงสังคมเดียวกับแมลงวัน ไม่มีเหล็กใน ต่อสู้ด้วยการกัด (แต่ไม่เจ็บเลย) ชอบตอม เป็นแมลงชั้นสูงชอบอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นฝูงในรัง ไม่ทิ้งรัง หากินในระยะไกลไม่เกิน 300 เมตร และออกหากินเป็นเวลา อายุขัยประมาณ 240 วัน น้ำหวานจากชันโรงมีรสหวานอมเปรี้ยวเป็นยารักษาโรคได้ มีสรรพคุณสูงกว่าน้ำหวานจากผึ้งถึง 5 เท่า เนื่องจากชันโรงไม่เลือกตอมเกสรดอกของพืชต่างๆ จึงได้น้ำหวานที่มาจากพืชหลากหลายชนิด ชันโรงยังทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรชั้นดีทางด้านการเกษตร คือ ช่วยผสมเกสรดอกของพืชต่างๆ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากถึง 3 เท่า
พฤติกรรมที่น่าชื่นชมของชันโรง
เป็นแมลงเศรษฐกิจ
เนื่องจากน้ำหวานจากชันโรงมีสรรพคุณทางยาสูงมากจึงมีราคาแพง และเป็นเครื่องจักรชั้นดีทางด้านการเกษตรเนื่องจากช่วยผสมเกสรดอก ทำให้เพิ่มผลผลิตได้สูง
มีระเบียบวินัยสูง
ชันโรงออกหากินเป็นเวลาและตรงเวลา คือ ออกหากินตอนตะวันขึ้นและกลับเข้ารังก่อนตะวันตกดิน
เป็นดัชนี้บ่งชี้สภาพดินฟ้าอากาศ
ชันโรงจะไม่ออกจากรังเมื่อฝนกำลังจะตกหรือสภาพอากาศแปรปรวนมาก
รักความสะอาด
ชันโรงจะคอยนำเอาสิ่งสกปรก และชันโรงที่ตายแล้วออกจากรัง เพื่อรักษาความสะอาดในรัง ไม่ให้เกิดเชื้อโรค และเชื้อราภายในรัง


การเลี้ยงและการดูแลชันโรงสำหรับมือใหม่
ควรจำไว้ว่าการเลี้ยงชันโรงนั้นไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องให้อาหาร แต่ต้องเฝ้าระวังอันตรายจากศัตรูทางธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมาก เนื่องจากชันโรงไม่ทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเริ่มเลี้ยงชันโรงสำหรับมือใหม่ควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1. เมื่อได้รับรังชันโรงแล้ว ต้องหาที่วางที่ได้มาตรฐาน และเมื่อเปิดฝาแล้วต้องไม่เคลื่อนย้ายรัง
2. ต้องจัดให้มีหลังคากันแดดกันฝน เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมภายในรัง
3. ควรมีการป้องกันมดหรือสัตว์อย่างอื่นเข้าทำร้าย เช่น ใช้น้ำมันเครื่องทาเสา หรือ ใช้น้ำหล่อโคนเสา
4. เมื่อวางรังชันโรงแล้วทำการเปิดฝารังเพื่อให้ออกหากิน (ชันโรงออกจากรังเฉพาะเวลากลางวัน) ขั้นตอนนี้ถ้าเปิดฝารังแล้วห้ามย้ายลังโดยเด็ดขาด เพราะชันโรงจะกลับเข้ารังไม่ถูก
5. หากต้องการย้ายตำแหน่งวางรังชันโรง ต้องรอให้มืดสนิทก่อนเพื่อให้ชันโรงกลับเข้ารังจนหมด แล้วทำการปิดฝารัง จากนั้นตอนเช้าค่อยย้ายรังแล้วเปิดฝา ทำเช่นนี้ทุกครั้งที่จะทำการย้ายตำแหน่งรัง แต่ไม่ควรย้ายตำแหน่งบ่อย
6. ไม่ต้องให้อาหาร แต่ควรจัดให้มีต้นไม้ที่มีเกสรดอกจำนวนมากๆ ในบริเวณ เพื่อป้องกันการออกไปหากินไกล แล้วได้รับยาฆ่าแมลงศัตรูพืชกลับมา จะทำให้ชันโรงทะยอยตาย
7. ชันโรงบินไกลไม่เกิน 300 เมตร ก็จะกลับรัง ดังนั้นการเลือกตำแหน่งวางรังควรกระจายพื้นที่ให้เหมาะสม
ข้อควรระวังในการเลี้ยงชันโรง (การเฝ้าระวังและดูแลรักษา)
1. ควรเฝ้าระวังอันตรายจากศัตรูทางธรรมชาติของชันโรง ได้แก่ แมลงต่างๆ มด จิ้งจก มอด นก ตัวต่อ หนอนแมลงวัน
2. ควรเฝ้าระวังอันตรายจากแสงเเดดจัดเกินไป และต้องไม่ให้เปียกฝน
3. ควรเฝ้าอันตรายจากยาฆ่าแมลง จึงควรปลูกต้นไม้ที่มีดอกจำนวนมากบริเวณพื้นที่เลี้ยงชันโรง
4. ควรเฝ้าระวังรักษาสภาพแวดล้อมบริเวณรัง ไม่เกิดความชื้นสูงจนทำให้แมลงวันเข้าไปไข่

กล่องเลี้ยงชันโรง (ผึ้งน้อย)
ไม้สักแท้ล้วนๆ ลายสวยงาม ทนทาน แผ่นหนา กันปลวก กันมอด กันผุ ประกอบด้วย กล่อง ฝา และแผ่นพลาสติกใส

คำที่เกี่ยวข้อง
รังชันโรงรังไม้ผึ้งรังเลี้ยงชันโรงผึ้งชันโรงรังเลี้ยงผึ้งผึ้งร้อยรังรังชันโรงพันธุ์ขนเงินกล่องเลี้ยงผึ้งชันโรงผึ้งร้อยรัง บุรีรัมย์น้ำผึ้ง ผึ้งร้อยรัง

สินค้าใกล้เคียง