พระผงไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2530 มาพร้อมกล่องเดิม
พระผงไพรีพินาศ-วัดบวรนิเวศวิหาร-พ-ศ-2530-มาพร้อมกล่องเดิม
ข้อมูลสินค้า
ราคา
799.00 499.00 บาท
รีวิว
2 ครั้ง
แบรนด์
No Brand
ร้านค้า

พระผงไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2530 พระสวยมาพร้อมกล่องเดิมในปี 2530 เนื่องในโอกาสมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ (๖๐ พรรษา) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ ทางวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระกริ่งปวเรศ รุ่น 2.....ทางวัดได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งปวเรศขึ้นถึง ๓ ครั้งด้วยกัน คือ.....ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๙ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี และสมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพิธีอธิษฐานจิต มีพระคณาจารย์หลายท่านร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต.....ครั้งที่ ๒ พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธที่ ๒๑ และวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานในพิธี.....ครั้งที่ ๓ พิธีพุทธาภิเษกอย่างเป็นทางการ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) วัดราชบพิธฯ ทรงจุดเทียนชัย สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพิธีอธิษฐานจิต ร่วมกับพระภาวนาจารย์อีก ๓๖ รูป จากภาคต่างๆ ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต เมื่อเสร็จพิธีทั้งหมดแล้ว ทางวัดได้นำพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ออกให้ศรัทธาสาธุชนทำบุญเช่าบูชาเป็นการกุศล ชุดละ ๕,๐๐๐ บาท ใน ๑ ชุดจะมีพระกริ่ง ๑ องค์ และพระชัยวัฒน์ ๑ องค์..........นอกจากการจัดสร้างพระกริ่งแล้วยังมีการจัดสร้างพระไพรีพินาศ เนื้อผง เข้าพิธีจัดสร้างพระกริ่งปวเรศ รุ่น 2 นี้ด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นของดีที่ถูกมองข้ามไป เป็นพระอีกรุ่นนึ่งที่น่าหาน่าสะสมครับ กับราคาหลักร้อย

พิธีพุทธาภิเษกในคืนวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมาร ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธี สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิฐานจิต และพระเกจิอีกมากมายดังนี้ 1.พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร 2.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน กรุงเทพมหานคร 3.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังค์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี 4.พระครูอาคมวิสุทธิ (คง) วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี 5.พระครูญาณวรกิจ (กล้วย) วัดหมูคุด จ.จันทบุรี 6.พระรัตนคุณากร (แช่ม) วัดบ่อพุ จ.จันทบุรี 7.พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ 8.พระครูเมธีธรรมสาธก (หนู) วัดสุนทรพิชิตาราม จ.นครนายก 9.หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม 10.พระภาวนาพิศาลเถร (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา 11.พระอาจารย์นก วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์ 12.พระครูนนทสมณวัตร (เหรียญ) วัดบางระหงษ์ จ.นนทบุรี 13.พระครูนนทสมณวัตร (เหรียญ) วัดบางระหงษ์ จ.นนทบุรี 14.พระครูวิเศษภัทรกิจ (ทองใบ) วัดสายไหม จ.ปทุมธานี 15.พระอาจารย์ฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 16.พระวิสุทธาจารคุณ (เกตุ) วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 17.พระครูปลัดพรหม วัดขนอนเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา 18.พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด 19.พระครูอนุรักษ์วรคุณ (สง่า) วัดหนองม่วง จ.ราชบุรี 20.พระครูสมุทรวิจารณ์ (คลี่) วัดประชาโฆศิตาราม จ.สมุทรสงคราม 21.พระครูอาทรธรรมนิเทศก์ (ทองอยู่) วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร 22.พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม 23.พระครูสังวรธรรมานุวัตร (พล) วัดหนองคณฑี จ.สระบุรี 24.พระครูสรกิจพิจารณ์ (ผัน) วัดราษฎร์เจริญ จ.สระบุรี 25.พระครูสาธุกิจวิมล (เล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม 26.หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร จ.นครปฐม 27.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม 28.พระครูเกษมธรรมานันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม 29.พระครูนนทสิทธิการ เจ้าอาวาสวัดไทรน้อย จ.นนทบุรี 30.พระครูวิจิตรธรรมานุวัตร วัดหนองกระบอก จ.ระยอง 31.พระวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงษ์) วัดตรีทศเทพ 32.พระครูปริยัติคุณาธาร วัดชนะสงคราม 33.พระญาณสมโพธิ (ขวัญ) วัดอรุณราชวราราม 34.พระปริยัติมุนี ( ชูศักดิ์ ) วัดหงส์รัตนาราม 35.พระครูมงคลญาณสุนทร (ผ่อง) วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส 36.พระโพธิสังวรเถร (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร 

พระไพรีพินาศ เป็นพระพุทธรูปศิลาขนาดย่อม มีขนาดหน้าพระเพลา๓๓ เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปแบบธยานิพุทธเจ้า ปางประทานพร สมัยศรีวิชัย แต่นักสังเกตบางคนสงสัยว่า “พระพุทธรูป สมัยศรีวิชัย มีเพียงเกตุมาลา เป็นจอมคล้ายสมัยทราวดีเป็นพื้น” พระพุทธรูปองค์นี้ มีผู้นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อยังทรงผนวชอยู่ ราว พ.ศ.๒๓๙๑ ได้ถวายพระนามว่า “พระไพรีพินาศ”

     ซุ้มเก๋ง ด้านเหนือแห่งพระเจดีย์นั้น เป็นที่ประดิษฐานพระไพรีพินาศ ในการบูรณปฏิสังขรณ์ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗-๘ นี้ ทำประตูเหล็ก ๒ ชั้น ช่องหน้าต่างใส่เหล็กทั้งสองข้าง ฝาผนังปิดโมเสก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ปิดทองพระไพรีพินาศ ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๘ ด้วย  ในหนังสือตำนานวัดมีกล่าวว่า “พระไพรีพินาศ ใคร่ครวญตามพระนามน่าจะได้เชิญประดิษฐานไว้ในเก๋งน้อยที่สร้างใหม่ ณ ทักษิณชั้นบนแห่งพระเจดีย์ในครั้งนั้น เว้นไว้แต่จักได้ประดิษฐานไว้แล้วในครั้งยังทรงผนวชเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๑ ที่เป็นคราวสิ้นเสี้ยนศัตรู ครั้งแรก”พระไพรีพินาศ ในสาสน์สมเด็จเล่ม ๒ หน้า ๘๕-๙๐-๑๑๖    สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ตั้งปัญหาถามกระหม่อมว่า พระไพรีพินาศนั้น เป็นพระอะไร มาแต่ไหน ทำไมจึงมาอยู่วัดบวรนิเวศ เหตุใดจึงชื่อว่า ไพรีพินาศ เกล้ากระหม่อมหงายท้อง ไม่สามารถตอบได้ อยากรู้เหมือนกัน เคยทูลถามฝ่าพระบาทก็ไม่ทรงทราบเหมือนกัน หันไปหันมาเห็นกรมหมื่นพงศา จึงลองเข้าจดทูลถามดู ตรัสบอกว่า ใครก็ทรงจำชื่อไม่ได้เสียแล้ว เป็นผู้นำมาถวายทูลกระหม่อมเมื่อยังทรงผนวชอยู่ เป็นเวลาติดต่อกับที่หม่อมไกรสรถูกสำเร็จโทษ จึงโปรดตั้งพระนามว่า "พระไพรีพินาศ”     พระไพรีพินาศเจีดย์ เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น บรรจุพระพุทธวจนะ ประดิษฐานอยู่ในคูหาภายในพระเจดีย์ใหญ่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ระหว่างการบูรณะพระเจดีย์ใหญ่ได้เปิดองค์พระไพรีพินาศเจดีย์ดู พบกระดาษสีขาว มีตราแดง ๒ ดวง มีอักษรเขียนว่า "พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่า พระไพรีพินาศเจดียเทิญ" อีกหน้าหนึ่งเขียนว่า "เพระตั้งแต่ทำแล้วมา คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ"คาถาบูชาพระไพรีพินาศอรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ สุจิรํ ปรินิพฺพุโตคุเณหิ ธรมาโนทานิ ปารมีหิ จ ทิสฺสติยาวชีวํ อหํ พุทธํ ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คโตปูเชมิ รตนตฺตยํ ธมฺมํ จรามิ โสตฺถินา.

พระประวัติ  สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณาย

เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก(สุวัฑฒนมหาเถระ) มีพระนามเดิมว่า เจริญ นามสกุล คชวัตร ทรงมีพระชาติภูมิ ณ จังหวัดกาญจนบุรีเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ณ วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี แล้วเข้ามาอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนพระชนมายุครบอุปสมบท และทรงอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง วชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ประทับอยู่ศึกษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดมาจนกระทั่งสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๘๔

เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงสมณศักดิ์มาโดยลำดับดังนี้ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นราช และพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระโศภณคณาภรณ์ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราภรณ์ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร และทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๒ นับเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ทรงมีพระอัธยาศัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนมาตั้งแต่ทรงเป็นพระเปรียญ โดยเฉพาะในด้านภาษา ทรงศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และ สันสกฤต จนสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี กระทั่งเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเห็นว่า จะเพลินในการศึกษามากไป วันหนึ่งทรงเตือนว่า ควรทำกรรมฐานเสียบ้าง เป็นเหตุให้พระองค์ทรงเริ่มทำกรรมฐานมาแต่บัดนั้น และทำตลอดมาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ 

เนื่องจากทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี สมเด็จพระสังฆราชจึงทรงศึกษาหาความรู้สมัยใหม่ด้วยการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม เป็นเหตุให้ทรงมีทัศนะกว้างขวาง ทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสั่งสอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ทรงนิพนธ์หนังสือทางพระพุทธศาสนาได้อย่างสมสมัย เหมาะแก่บุคคลและสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน และทรงสั่งสอนพระพุทธศาสนาทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ใน ด้านการศึกษา สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงมีพระดำริทางการศึกษาที่กว้างไกล ทรงมีส่วนร่วมในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของไทย คือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมาแต่ต้น ทรงริเริ่มให้มีสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อฝึกอบรมพระธรรมทูตไทยที่จะไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ 

ทรงเป็นพระมหาเถระไทยรูปแรกที่ได้ดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศอย่าง เป็นรูปธรรม โดยเริ่มจากทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศเป็นรูปแรก เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ในพิธีเปิดวัดไทยแห่งแรกในทวีปยุโรป คือวัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ทรงนำพระพุทธศาสนาเถรวาทไปสู่ทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรก โดยการสร้างวัดพุทธรังษีขึ้น ณ นครซิดนีย์

ทรงให้กำเนิดคณะสงฆ์เถรวาทขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย ทรงช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศเนปาล โดยเสด็จไปให้การบรรพชาแก่ศากยะกุลบุตรในประเทศเนปาลเป็นครั้งแรก ทำให้ประเพณีการบวชฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเนปาลยุคปัจจุบัน ทรงเจริญศาสนไมตรีกับองค์ทะไล ลามะ กระทั่งเป็นที่ทรงคุ้นเคยและได้วิสาสะกันหลายครั้ง และทรงเป็นพระประมุขแห่งศาสนจักรพระองค์แรกที่ได้รับทูลเชิญให้เสด็จเยือน สาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการในประวัติศาสตร์จีน

เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเป็นเอนกประการ ทรงเป็นนักวิชาการและนักวิเคราะห์ธรรมตามหลักการของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า ธัมมวิจยะ หรือธัมมวิจัย เพื่อแสดงให้เห็นว่า พุทธธรรมนั้นสามารถประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของชีวิตได้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูงสุด ทรงมีผลงานด้านพระนิพนธ์ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษจำนวนกว่า ๑๐๐ เรื่อง ประกอบด้วยพระนิพนธ์แสดงคำสอนทางพระพุทธศาสนาทั้งระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง รวมถึงความเรียงเชิงศาสนคดีอีกจำนวนมาก ซึ่งล้วนมีคุณค่าควรแก่การศึกษา สถาบันการศึกษาของชาติหลายแห่งตระหนักถึงพระปรีชาสามารถและคุณค่าแห่งงานพระ นิพนธ์ ตลอดถึงพระกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติ จึงได้ทูลถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็นการเทิดพระเกียรติหลายสาขา 

นอกจากพระกรณียกิจตามหน้าที่ตำแหน่งแล้วสมเด็จพระสังฆราชยังได้ทรงปฏิบัติหน้าที่พิเศษ อันมีความสำคัญยิ่งอีกหลายวาระ กล่าวคือ ทรงเป็นพระอภิบาลในพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เมื่อครั้งเสด็จออกทรงพระผนวช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๙ พร้อมทั้งทรงถวายความรู้ในพระธรรมวินัยตลอดระยะเวลาแห่งการทรงพระผนวช ทรงเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อครั้งเสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๑

เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญทางการคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ มาเป็นลำดับ เป็นเหตุให้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเป็นประโยชน์ต่อพระศาสนา ประเทศชาติ และประชาชน เป็นเอนกประการ นับได้ว่าทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงเพียบพร้อมด้วยอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ และทรงเป็นครุฐานียบุคคลของชาติ ทั้งในด้านพุทธจักรและอาณาจักร 

คำที่เกี่ยวข้อง
พระไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหารพระไพรีพินาศวัดบวรนิเวศพระไพรีพินาศ วัดบวรวัดบวรนิเวศวิหารไพรีพินาศ วัดบวรพระผงไพรีพินาศพระนิรันตราย วัดบวรนิเวศพระอุปคุต วัดบวรนิเวศวัดบวรนิเวศวัดบวรนิเวศ...

สินค้าใกล้เคียง