Inspire Jewelry พระพุทธชินราช สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสองแคว size 1.5x3cm.
inspire-jewelry-พระพุทธชินราช-สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสองแคว-size-1-5x3cm
ข้อมูลสินค้า
ราคา
199.00 95.00 บาท
รีวิว
5 ครั้ง
แบรนด์
INSPIRE JEWELRY
ร้านค้า
  • พระเจ้า
  • หล่อด้วยทองเหลือง
  • เครื่องรางของขลัง
  •  สิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • ปกป้องภยันตราย
  • เสริมความมั่งคั่ง 
  • พระพุทธชินราช
  • ตั้งโต๊ะ ห้องนอน ห้องพระ โต๊ะทำงาน
  • ตกแต่งบ้าน 
พระคาถาบูชาพระพุทธชินราช
อิเมหิ นานาสักกาเรหิ อะภิปูชิเตหิ
ทีฆายุโก โหมิ อะโรโค สุขิโต
สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ปิยัง มะมะ
ปะสิทธิลาโภ ชะโย โหตุ สัพพะทา
พุทธะชินะราชา อะภิปาเลตุ มัง นะโมพุทธายะ
สำหรับท่านใดที่จะประสงค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลกนั้น สิ่งของที่จะไหว้มีดังนี้1.ดอกไม้ เป็นดอกบัวดีที่สุด2.เทียนสีผึ้งแท้หนัก1บาท สองเล่ม3.ธูปห้าดอก แทนพระพุทธเจ้า5พระองค์และคุณบิดามารดา4.เครื่องบูชา หากจะบนบานศาลกล่าวให้ใช้ไข่ต้ม กี่ฟองก็ได้ตามศรัทธาเมื่อจัดเครื่องบูชาแล้ว กลางคืนก่อนไปที่วัด ให้ตั้งจิต กราบระลึกถึงพระคุณบุพการี และเมื่อไปที่วัด ให้จัดไข่ต้มใส่ถาดปอกเปลือก1ฟอง แล้วนำเอาดอกไม้ธูปเทียนไปกราบองค์พระพุทธชินราชจำลอง หน้าพระอุโบสถ แล้วจุดธูปทั้งห้าดอก กล่าวคำบุชาพระรัตนตรัย และขอขอมาพระรัตนตรัย ก่อน แล้วกล่าวพระคาถานี้อธิฐกาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสาวา ชินะราชาพุทธะรูปัง สิริธัมมะติปิ ฏะกะ ราเชนะ กะตัง นะมามิหัง ว่าภาษาบาลีดังนี้3หนแล้วกล่าวขอพรว่า ข้าพเจ้า ชื่อตัวเรา นามสกุล ข้าพเจ้าชื่อ ขอนอบน้อมมาพึ่งพระพุทธบารมี แห่งองค์พระพุทธชินราชที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่พระเจ้าศรีธรรมปิฏก ได้ทรงสร้างโดยพระอินทราเทวราช ได้มาเป็นผู้หล่อ สร้างไว้ด้วยกาย วาจา และใจ ข้าพเจ้าได้จัดแต่เครื่องบูชาแด่องค์พระพุทธชินราช แล้วณบัดนี้ ด้วยอานิสงส์แห่งการศรัทธาต่อองค์พระพุทธชินราช ขอจงได้ (อธิษฐานตามปรารถนา)เมื่อานเสร็จธูปแล้วนำเอาดอกไม้ไปไหว้ข้างในพระอุโบสถ อีกครั้งแล้วกล่าว คาถาข้างต้นอีก3จบ เป็นอันเสร็จพิธี ข้าวของไม่ต้องเอากลับให้ไว้เป็นทาน แล้วให้ปักที่กระถางและมีเคล็ดอีกอย่างคือเมื่อได้กราบพระพุทธชินราชแล้วให้มาทำบุญตีระนาดเอกหน้าโบสถ์ โดยบริจาคตามศรัทธา เป็นเคล็ดทำให้เราโด่งดัง

ประวัติพระพุทธชินราช

พระพุทธรูปที่งดงามของไทย คือพระพุทธชินราช ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ตามที่ตำนานเมืองเหนือกล่าวว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏก เจ้าแผ่นดินเชียงแสน ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ทรงเล่าเรียนศึกษาพระไตรปิฎกจนคล่องแคล่วชำนิชำนาญทำนุบำรุงกิจการพระพุทธศาสนา ให้เจริญวัฒนาแผ่ไพศาลไปทั่วทุกทิศานุทิศ ถึงแม้พระทัยของพระองค์จะยึดมั่นในพระพุทธศาสนาเพียงใดก็ตาม ก็หาได้เว้นการแผ่นพระบรมเดชานุภาพขยายอาณาเขตไม่ จึงได้หาเหตุกรีธาทัพยกมาตีเมืองสวรรคโลก หรือศรีสัชนาลัย พระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัย ได้ยกกองทัพออกต่อสู้ กองทัพได้ปะทะกันหลายครั้ง พลทหารทั้งสองฝ่ายล้มตายเป็นอันมาก พระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยตกอยู่ทางฝ่ายเสียเปรียบ จึงได้เจรจาหย่าทัพเริ่มสถาปนาความสัมพันธไมตรีให้มีต่อกันตามเดิม ได้ยกพระราชธิดาถวายต่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เมื่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกได้พระราชธิดาก็ทรงพอพระทัยจึงยกทัพกลับ ตั้งพระนางไว้ในตำแหน่งอัครมเหสีพระนางมีพระราชโอรสกับพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏก ๒ องค์ องค์หนึ่งทรงพระนามว่า ไกรสรราช อีกองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ชาติสาคร พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกได้ทรงสร้างเมืองขึ้นใหม่ที่ตำบลสองแคว เพื่อให้พระราชโอรสปกครอง ได้ตั้งชื่อเมืองที่่สร้างใหม่ว่า "เมืองพิษณุโลก"เนื่องจากพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้ทรงดำริว่า จะสร้างพระพุทธรูปไว้เป็นศรีแก่เมืองพิษณุโลก ได้ให้ช่างเมืองสุโขทัยกับเมืองเชียงแสน ร่วมกันสร้างหุ่นพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ คือ พระพุทธชินราชองค์หนึ่ง พระพุทธชินสีห์องค์หนึ่ง พระศรีศาสดาองค์หนึ่ง เป็นพระพุทธรูปงดงามมาก แล้วหล่อพระพุทธรูปทั้งสามองค์ด้วยทองสัมฤทธิ์ เมื่อวันเพ็ญเดือนยี่ ปีจอ พ.ศ. ๑๔๙๙ เมื่อเย็นแล้วได้แกะแบบพิมพ์ออก รูปของพระชินสีห์ และพระศรีศาสดาเนื้อทองได้แล่นตลอดเสมอกันติดสนิทเรียบร้อยสมบูรณ์ดี แต่รูปพระพุทธชินราชทองหาได้แล่นติดกันไม่ ช่างได้ทำหุ่นหล่อใหม่อีกถึง ๓ ครั้ง ทองก็ไม่ติด ยังความเศร้าโทมนัสแก่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกเป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงตั้งสัตยาอธิษฐานร่วม กับพระอัครมเหสีในการที่จะทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาให้วัฒนาถาวรสืบไป แล้วให้ช่างสร้างหุ่นใหม่ คราวนี้เทวดาได้แปลงตนเป็นปะขาวมาช่วยสร้างหุ่นด้วย เมื่อสร้างหุ่นได้เริ่มเททองใหม่ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน พ.ศ. ๑๕00 พระพุทธรูปก็สำเร็จเป็นอันดี ปะขาวหายไปเศษทองที่เหลือจากหล่อพระพุทธรูปทั้งสามองค์ ได้รวบรวมหล่อพระพุทธรูปขึ้นอีกองค์หนึ่ง ให้ชื่อว่า พระเหลือ พระพุทธรูป ๔ องค์ ได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกถ้าจะพิจารณากันในแง่ประวัติศาสตร์ของชาติไทยแล้ว มีข้อความที่คลาดเคลื่อนกันอยู่มากเช่นเมื่อตอนพ่อขุนรามคำแหงครองราชสมบัติอยู่ ณ กรุงสุโขทัย เมื่อพิษณุโลกยังเป็นหัวเมือง มิได้มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงอีกประการหนึ่ง ลักษณะพระพุทธรูป ๓ องค์นี้ เป็นฝีมือช่างเชียงแสนผสมสุโขทัยจริง แต่เป็นฝีมือช่างรุ่นหลัง จะสังเกตเห็นได้จากชายจีวรซึ่งยานแบบลังกา ปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ซึ่งผิดกับสมัยกรุงสุโขทัยและเชียงแสนรุ่นก่อน ซึ่งทำนิ้วพระหัตถ์ไม่เท่ากับหลักฐานยืนยันอีกอย่างหนึ่งในพงศาวดารเมืองเหนือว่า พระเจ้าแผ่นดินที่ปรากฎเกียรติว่า ทรงรอบรู้พระไตรปิฏกนั้น มีพระองค์เดียว คือ พระมหาธรรมราชาลิไทย เป็นมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย(สวรรคโลก) ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์พระร่วง ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่งนัก ได้เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่วาระหนึ่ง ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไตรภูมิกถา หรือที่เราเรียกกันว่า ไตรภูมิพระร่วง ทรงชำระสอบสวนพระไตรปิฏก หลักฐานเรื่องราวที่กล่าวมานี้ ทำให้เชื่อได้ว่า พระเจ้าแผ่นดินที่พงศาวดารเมืองเหนือเรียกว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกนั้นคือ พระมหาธรรมราชาลิไทนี่เอง แต่สำคัญเมืองและ พ.ศ. ผิดไป เมื่อพระองค์ครองราชย์แล้ว ได้ทรงสร้างเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง และได้โปรดให้หล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ ในราวพุทธศักราช ๑๙00 ลักษณะพระพุทธรูปจึงผิดกับพระพุทธรูปเมืองสุโขทัยและเชียงแสนรุ่นก่อนพระพุทธชินราชหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้วเศษ ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในวิหารใหญ่ทางทิศตะวันตก หันพระพักตร์ไปทางแม่น้ำ เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย พระมหากษัตริย์ไทยทั้งสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ได้ทรงเคารพนับถือสักการบูชาเสมอมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสรรเสริญว่า พระพุทธชินราชนี้เป็นพระปฏิมากรที่ประเสริฐล้ำเลิศ ประกอบไปด้วยพระพุทธลักษณะสิอันเทพยาดา อภิบาลรักษา ย่อมเป็นที่เคารพนับถือมาแต่ครั้งโบราณกาล แม้พระเจ้าแผ่นดินอยุธาที่มีพระบามเดชานุภาพมากก็ทรงทำการสักการบูชา มาหลายพระองค์ในแผ่นดินพระมหินทราธิราช พระมหาจักรพรรดิหรือพระเจ้าช้างเผือกได้มอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสคือพระมหินทร์ แล้วเสด็จไปเมืองพิษณุโลก ได้ทรงปฎิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นอันดี แล้วแต่งนางชีและพระภิกษุจำนวนมากให้อยู่รักษาวัดแล้วเสด็จกลับ เมื่อเสด็จมาถึงกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงผนวชพร้อมกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นจำนวนมากในแผ่นดินพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรราชโอรสเสด็จกลับมาจากกรุงหงสาวดี เพราะถูกพม่าเอาตัวไปเป็นประกัน ขณะนั้นไทยเสียกรุงแก่พม่าเนื่องจากคนไทยขาดความสามัคคี เมื่อพระนเรศวรเจริญวัยได้เสด็จกลับ ครั้นมาถึงเมืองพิษณุโลกทรงเปลื้องเครื่องทรงออกบูชาถวายพระพุทธชินราช ได้ทำการสมโภชตลอด ๓ วัน ๓ คืน อนึ่ง เม่อพระนเรศวรถูกพระเจ้านันทะบุเรงกษัตริย์พม่าคิดร้าย พระองค์ทรงทราบโดยพระมหาเถรคันฉ่อง และพระยาเกียรติ พระยารามกราบทูล จึงได้พาท่านทั้งสามกลับมายังกรุงศรีอยุธยา ทรงโปรดให้มหาเถรคันฉ่อง จำอยู่ ณ วัดมหาธาตุ พระราชทานจังหันนิตยภัต และสมณศักดิ์ต่างๆ แล้วพระนเรศวรเสด็จไปยังเมืองพิษณุโลก ทรงเปลื้องเครื่องสุวรรณาลังการและขัตติยาภรณ์ กระทำการสักการบูชาพระพุทธชินราชในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อพระองค์ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา ที่ตำบลหนองสาหร่าย ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี กลับมาได้ตรัสลงโทษให้ประหารชีวิตแม่ทัพนายกองเสีย เพราะตามเสด็จไม่ทัน แต่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วพร้อมด้วยพระราชาคณะ ๔๕ รูป เข้าไปถวายพระพรขออภัยโทษ พระองค์ก็ทรงพระราชทานให้ ดังมีเรื่องกล่าวไว้ในประวัติศาสตร์ว่า พระนเรศวรทรงตรัสกับพระพนรัตน์ว่า "พวกนายทัพนายกองมันอยู่ในกระบวนทัพโยม มันกลัวข้าศึกยิ่งกว่าโยม ปล่อยให้โยมสองคนพี่น้องฝ่าเข้าไปท่ามกลางข้าศึก กระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาได้ชัยชนะแล้วจึงเห็นหน้ามัน หากว่าบารมีของโยม หาไม่แผ่นดินจะเป็นข้าของชาวหงสาวดีเสียแล้ว ฉะนั้นโยมจึงให้ลงโทษตามกฎพระอัยการศึก" สมเด็จพระพนรัตน์ถวายพระพรว่า "นายทัพนายกองจะไม่รักใคร่ไม่เกรงกลัวพระราชสมภารเจ้านั้นหามิได้ หากแต่พระเกียรติของพระราชสมภารเจ้าเป็นมหัศจรรย์ เหมือนเป็นครั้งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผจญพระยามาราธิราชในวันตรัสรู้ ถ้ามีเทพยดาเข้าช่วยแม้จะมีชัยแก่พระยามารก็หาเป็นอัศจรรย์ไม่ ขอพระราชสมภารเจ้าอย่าทรงโทมนัสน้อยพระทัยไปเลย ทั้งนี้เพราะเทพยดาเจ้าสำแดงพระเกียรติยศ" เมื่อพระนเรศวรทรงสดับดังนั้นก็ทรงคลายพระพิโรธ ปราโมทย์ในพระหฤทัยให้อภัยโทษตามคำขออนึ่ง ในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรนี้ พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราชหลายครั้ง ครั้งหนึ่งได้ทรงปิดทองด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง และให้มีมหรสพสมโภชตลอด ๗ วัน ๗ คืนในแผ่นดินสมเด็จพระบรมรราชาธิราช พระราเมศวรเสด็จไปยังเมืองพิษณุโลกได้เห็นน้ำพระเนตรของพระพุทธชินราชตกออกเป็นสีแดงคล้ายพระโลหิตในแผ่นดินที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ได้ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้ทรงโปรดให้กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์(ต้นตระกูล จิตรพงศ์) ออกแบบพระอุโบสถ ซึ่งเป็นพระอุโบสถที่งดงามมาก สร้างด้วยหินอ่อนล้วน เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระองค์ก็ดำริหาพระพุทธรูปที่จะตั้งเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ทรงเห็นว่าพระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปงดงามมาก สมควรที่จะประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ครั้นจะอัญเชิญพระพุทธชินราชลงมาก็เห็นว่าเป็นที่นับถือของประชาชนพลเมืองเป็นอันมาก จึงได้จำลองขึ้นใหม่ และได้เสด็จไปเททององค์พระปฎิมาและสมโภชพระพุทธชินราช เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ เสร็จแล้วจึงโปรดให้อัญเชิญ พระพุทธชินราชจำลอง มาประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงถวายสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์พนรัตน์ เป็นพุทธบูชา ทรงปิดทองพระพุทธชินราชจำลองด้วยพระหัตถ์แล้วทำการสมโภช ๓ วัน ๓ คืน

คำที่เกี่ยวข้อง
พระพุทธชินราชกรอบพระพุทธชินราชเหรียญพระพุทธชินราชรูปพระพุทธชินราชพระพุทธชินราชทองเหลืองพระพุทธชินราช พิษณุโลกพระพุทธชินราชอินโดจีนสร้อยพระพุทธชินราชพระพุทธชินราชทองคำพระพุทธชินราช ทองคำ

สินค้าใกล้เคียง